วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ฤาเป็นยักษ์ที่เพิงตื่น : ชนชั้นกลางกับการเมืองไทย

สาระสำคัญ
การ ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เป็นการรัฐประหารที่เกิดขึ้นครั้งที่ 10 ของประเทศไทย เป็นการถอยหลังเข้าคลองครั้งใหญ่ของประชาธิปไตย แต่ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ชนชั้นกลาง ซึ่งหมายถึงบุคคลที่เป็นนักบริหารมืออาชีพในภาคเอกชน หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ ได้เข้าร่วมชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร และประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา
ถ้าถามว่าชนชั้นกลางเป้นยักษ์ที่เพิ่ง ตื่นจริงหรือ? คำตอบอาจจะใช่ในส่วนที่เป็นยักษ์ แต่ที่เพิ่งตื่นนั้น บอกได้ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะชนชั้นกลางเป็นปัจจัยสำคัญของการเมืองมาโดยตลอด การก่อตัวของชนชั้นกลางในการเมืองไทยเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่มีการปฏิรูปประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยังไม่มีบทบาททางการเมืองมากนัก การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ชนชั้นกลางยังไม่มีบทบาททางการเมืองมากนัก เพราะคนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน การที่ชนชั้นกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเริ่มในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความทันสมัยมากขึ้น ใช้กลไกทางการตลาดในการดำเนินเศรษฐกิจ เป็นการพัฒนาที่เน้นภาคเอกชน แต่คนส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคราชการเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงนี้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง และมีผลต่อเนื่องไปถึงสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร จนเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาที่ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลจอมพล ถนอม จนทำให้จอมพลถนอมต้องลี้ภัยไปอยู่ยังต่างประเทศ
หากเปรียบเทียบ ขนาดชนชั้นกลางของไทยกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียบด้วยกัน ปรากฏว่าช่วงยุครัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คือในปี 2523-2524 อัตราส่วนของไทยอยู่ในลำดับที่ 4 และในปี 2529 ไทยได้แซงหน้าฟิลิปปินส์ไปได้ ยุคพลเอกเปรมนั้น นอกจากจะมีชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้นแล้ว เมื่อย้อนหลังไปก็เป็นช่วงตระเตรียมความคิดใหม่ต่อการมีบทบาททางการเมืองของ ชนชั้นกลางอีกด้วย กล่าวคือ ได้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของทางราชการต่อบทบาทของภาคเอกชนในการบริหาร ประเทศ โดยรัฐบาลได้เชิญ นักธุรกิจเข้ามาร่วมกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยลดบทบาทของรัฐในการ ประกอบทางเศรษฐกิจ และหันมาหนุนให้เอกชนเข้ามามีบทบาทแทนภาครัฐ ในช่วงนี้ภาคเอกชนได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแสดงที่ชอบธรรมและมีความสำคัญ นอกจากนี้องค์กรเอกชนประเภทไม่แสวงหากำไรก็ได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนด นโยบายของประเทศด้วย
พลังทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจและชน ชั้นกลางได้เริ่มมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมและมีความรู้สึกเชื่อมั่นใน ศักยภาพทางการเมืองของตน แต่เมื่อชนชั้นกลางมีความสำนักทางการเมืองมองไปที่การเมือง ก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับสภาพที่เป็นอยู่ซึ่งเต็มไปด้วยการทุจริตโกงกิน การซื้อสิทธิ์ขายเสียง และการแย่งชิงอำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การที่นายทหารกล่าวตำหนิติเตียนความไร้ประสิทธิภาพของนักการเมืองคงมีที่มา จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญคือนายทหารระดับสูงไม่อยากเป็นลูกน้องของนักการเมือง นอกจากนี้ นักวิชาการและสื่อมวลชนก็ช่วยหล่อหลอมความคิดทางการเมืองให้แก่ชนชั้นกลางไป ในทางลบต่อระบอบประชาธิปไตย จะเห็นได้จากยุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 งานวิชาการที่มีอิทธิพลทางความคิดเน้นว่าลักษณะชนชั้นและสังคมของไทยทำให้ ประชาธิปไตยไม่สามารถแก้ไขปัญหามูลฐานของประเทศ ทัศนะของนักวิชาการดูเหมือนจะสอดคล้องกับการวิจารณ์ของสื่อมวลชน ดังเห็นได้จากรายงานข่าวเกี่ยวกับเศรษฐีที่ทุ่มเงินมหาศาลให้แก่ชาวบ้าน เพื่อหวังคะแนนเสียงในช่วงเลือกตั้ง หรือสิทธิประโยชน์จากการประมูลสัมปทานต่าง ๆ ตลอดยุครัฐบาลพลเอกเปรม ชนชั้นกลางไทยได้เริ่มตื่นและเริ่มลุกขึ้นแล้วนั้น แม้จะยอมรับหลักการประชาธิปไตยทางทฤษฎี แต่ก็คงรังเกียจประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ เพราะมองว่ามันบิดเบือนไปแนวคิดในอุดมคติไปมาก
ชนชั้นกลางบนเส้นทาง สู่การรัฐประหารปี 2534 เมื่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ชนชั้นกลางบางส่วนเห็นข้อนี้เป็นพัฒนาการที่ดี แต่บางส่วนกลับวิตกว่าอาจจะได้คนที่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรมและความสามารถเข้ามาดำรงตำแหน่ง แต่ถ้ามองย้อนกลับไปรัฐบาลพลเอกชาติชายมีผลงานมากพอสมควร เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรัฐบาลได้แสดงความเป็นอิสระจากสหรัฐ อเมริกา มีความเป็นตัวเองมากขึ้น รัฐบาลได้ยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน และการประกาศปิดป่าทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการพาณิชย์
ในความคิดของคนใน เมืองที่มีการศึกษา การที่ได้รัฐบาลที่ดีไม่ใช่อยู่ที่ผลงานเท่านั้น แต่ต้องมาจากความมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ด้วย ซึ่งรัฐบาลพลเอกชาติชายถูกกล่าวหาจากหลายฝ่ายว่าเป็นรัฐบาลที่ทุจริต คอรัปชั่นขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าข้อกล่าวหานี้ไม่มีมูลความจริงก็ตาม แต่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวลกับผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา ในยุคนี้นักวิชาการได้ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านการคอรัปชั่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งคล้ายกับแนวทางของหนังสือพิมพ์ที่โจมตีการกระทำของรัฐบาล ข้อวิจารณ์ของสื่อมวลชนและนักวิชาการถูกเสริมด้วยข้อคิดเห็นจากกลุ่มองค์กร พัฒนาเอกชน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักศึกษาที่มีการจัดอภิปรายและชุมนุมทางการเมืองเป็น ระยะ ซึ่งชนชั้นกลางในกรุงเทพดูเหมือนจะคล้อยตามไปกับความเห็นเหล่านี้ เป็นที่แน่นอนว่า รัฐบาลมีข้อเสื่อมเสียจากข้อกล่าวหาการทุจริตคอรัปชั่น แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลสำคัญที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยต้องถูกโค่นล้มไป เพราะผลเกิดจากการที่รัฐบาลกับกองทัพมีความขัดแย้งกัน เกิดจากความขัดแย้งระหว่างคณะที่ปรึกษา บ้านพิษณุโลกกับผู้นำของกองทัพ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายเตรียมเผชิญหน้ากัน ฝ่ายทหารได้ใช้เหตุผลที่รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นมาเป็นข้ออ้างในการก่อรัฐ ประหาร โดยเริ่มจากการสร้างพันธมิตรกับข้าราชการประจำ ซึ่งกลุ่มข้าราชการมีความไม่พอใจที่ถูกนักการเมืองรังแกโยกย้ายตำแหน่งของ ข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม
สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร ก็คือ การเรียกร้องจากชนชั้นกลางในปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง โดยมีการโจมตีไปที่ตัวบุคคลและตัวระบอบที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ว่าเป็นสาเหตุของการทุจริตคอรัปชั่น สัญญาณของการก่อรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ก็เกิดเหตุการณ์ยึดเครื่องบินประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และชัยชนะตกเป็นของฝ่ายผู้ก่อรัฐประหารอย่างง่ายดาย
จุดยืนของชนชั้น กลางที่ไม่มีความมั่นคงต่อระบอบประชาธิปไตย เพราะ พวกเขาไม่ชอบประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ พวกเขาเชื่อว่าการเมืองเป็นเพียงประชาธิปไตยเพียงแต่ในนามเท่านั้น การที่ได้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันเช่นนี้แล้ว รัฐบาลที่ดีในทัศนะของชนชั้นกลางไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ต้องเป็นรัฐบาลที่มีความสามารถ และมีคุณธรรมด้วย ในทางกลับกันชนชั้นกลางก็ปฏิเสธระบอบอำนาจนิยมเพียงในหลักการเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาเชื่อว่าอาจจะเป็นระบอบที่ดีได้เหมือนกัน ดังนั้นการแสวงหาการปกครองที่ดีของพวกเขาจึงไม่จำกัดอยู่ในระดับการเปลี่ยน แปลงภายในระบบ เมื่อเสียงประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังขึ้น ชนชั้นกลางส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีแล้ว แต่ก็มีความหวาดกลัว และแอบหวังว่าคณะรัฐประหารคงไม่พยายามสืบทอดอำนาจของตนเอง ความหวังของพวกเขาอยู่ที่คณะรัฐประหารจะยึดผลประโยชน์สูงสุดของชาติเป็นหลัก
ชน ชั้นกลางกับการช่วงชิงประชาธิปไตยกลับคืน นโยบายและมาตรการของคณะทหาร คือ แม้จะมีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่มีการเซ็นเซอร์สื่อหนังสือพิมพ์ ไม่ยุบพรรคการเมือง และมีการสั่งสอบสวนและยึดทรัพย์สินและตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาตรวจสอบการ คอรัปชั่นของนักการเมือง ในขณะเดียวกันคณะรสช. ได้มีการประกาศว่าจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีมาตรการป้องกันการซื้อ สิทธิ์ขายเสียงและการคอรัปชั่น ทำให้ชนชั้นกลางส่วนใหญ่มีความพอใจในการกระทำของคณะรสช. ซึ่งคณะรสช.เองก็ได้เชิญนายอานันท์ ปันยารชุนเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีคณะรัฐมนตรีที่ประกอบด้วยนักบริหารชั้นนำและนักวิชาการที่ไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใดเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องจากชนชั้นกลางและนักธุรกิจเป็นจำนวนมากเช่นกัน อย่างไรก็ตามชนชั้นกลางได้มีความวิตกว่าการที่ทหารเข้ามายึดอำนาจนั้นเป็น การกลับสวนทวนกระแสพัฒนาการทางการเมืองของโลก จุดเปลี่ยนที่ทำให้ชนชั้นกลางส่วนใหญ่เปลี่ยนใจก็คือ ในระยะหลังเริ่มจะมีปรากฏการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้ก็ไม่ แตกต่างไปจากทุกครั้งที่ผ่านมา ที่ทหารพยายามยึดอำนาจและพยายามสืบทอดอำนาจของตนเอง โดยมีการตั้งพรรคสามัคคีธรรมขึ้นมาเพื่อรองรับฐานอำนาจทางการเมืองของคณะรัฐ ประหาร และมีนักการเมืองที่ถูกตรวจสอบทรัพย์สินบางคนเข้าสังกัดพรรคสามัคคีธรรมด้วย
ถึง ตอนนี้ชนชั้นกลางมีความผิดหวังกับการความไม่จริงใจของคณะรสช. อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยสูงสุดก็ชะลอตัวลงอย่างมาก ซึ่งชนชั้นกลางถือว่าเป้นความผิดพลาดของคณะรสช. ทำให้ชนชั้นกลางเริ่มสำแดงพลังคัดค้านคณะทหารอย่างจริงจังในปลายปี 2534 ด้วยการเข้าร่วมชุมนุมกับนักศึกษา นักวิชาการ และพรรคการเมือง เพื่อให้รัฐบาลเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ การประท้วงครั้งนี้เองที่มีการเรียกศัพท์ใหม่ว่า “ม็อบมือถือ” และ “ม็อบรถเก๋ง” การประท้วงครั้งนี้เป็นเสมือนการซ้อมรบของฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายทหารเท่า นั้น เพราะหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือนก็เกิดการประจันหน้าระหว่างสองฝ่าย เมื่อพลเอกสุจินดาตัดสินใจรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยไม่รักษาคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ ผลก็คือ เกิดการชุมนุมครั้งใหญ่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมถึง 500,000 คน จากการสำรวจของสมาคมสังคมสาสตร์แห่งประเทศไทย พบว่า คนชั้นกลางวัยหนุ่มสาวในภาคธุรกิจและในวัยทำงานเป็นกำลังหลักที่ออกมา เคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลต้องเข้าควบคุมสถานการณ์ ก่อให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด จนในที่สุดฝ่ายรัฐบาลก็ได้รับความพ่ายแพ้ในที่สุด ขณะที่ชนชั้นกลางไทยที่อยู่ในภาคธุรกิจเอกชนมีบทบาทสูงเด่นในช่วงที่เป็นการ ประท้วงโดยสงบ ส่วนชนชั้นกลางระดับล่างและคนชั้นล่างแสดงถึงจิตใจที่หาญกล้าผิดปกติในช่วง ที่มีการนองเลือด ปรากฏว่า หลังจากการนองเลือดแล้วชนชั้นกลางที่อยู่นอกแวดวงธุรกิจกลับกลายเป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้รัฐบาลพลเอกสุจินดาล่มสลาย
ชนชั้นกลางกับอนาคตของ ประชาธิปไตย คนชั้นกลางหรือคนเมืองที่มีรายได้และการศึกษาสูงนั้นมองว่าอุปสรรคของ ประชาธิปไตยเกิดจาก ประการแรกอยู่ที่คนในชนบทซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งส่วนใหญ่ของประเทศที่ อยู่ในความโง่เขลา ตกเป็นเหยื่อของนักการเมือง ที่ทุ่มเงินจำนวนมากในการซื้อเสียงประชาชนประการที่สองปัญหาอีกส่วนหนึ่ง อยู่ที่ฝ่ายทหาร ในสายตาของชนชั้นกลางมองว่าทหารที่ก่อรัฐประหารก็ไม่ได้เลวร้ายไปกว่านักการ เมืองที่คดโกงบ้านเมือง สำหรับชนชั้นกลางของไทยความชอบธรรมของระบอบไม่จำเป็นต้องมาจากระบวนการของ อำนาจ หากอยู่ที่การกระทำของรัฐบาลมากกว่า ในทัศนะของชนชั้นกลาง การที่ชาวชนบทเอาคะแนนเสียงของตนเองแลกกับเงินหรือผลประโยชน์ที่นักการเมือง เสนอให้ ปัญหาการซื้อเสียง และการทุจริตและคอรัปชั่นเกิดจากการที่ชนชั้นกลางและคนในชนบทมีความคิดแตก ต่างกัน ชนชั้นกลางมักจะลืมคิดว่าประชาธิปไตยที่เขาต้องการนั้นต้องอยู่ในสังคมซึ่ง ประกอบไปด้วย ปัจเจกบุคคล ที่มีความคิดอิสระไม่พึ่งพิงใคร สำหรับชาวชนบทนั้น พวกเขามีความคิดที่จะเป็นอิสระ และมองความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างแยกขาด
อย่างไรก็ตาม ชนชั้นกลางคงจะไม่เปลี่ยนทัศนะที่เคยมีต่อปัญหาประชาธิปไตยได้เร็วนักเราจึง คิดค้นและเร่งสร้างกลไกสถาบันที่จะนำมาซึ่งระบบการปกครองที่มีคุณธรรมและ ประสิทธิภาพดังเช่นที่คนชั้นกลางต้องการ อันจะเป็นการนำไปสู่การป้องกันไม่ให้พวกเขาหวนไปเป็นพันธมิตรกับฝ่ายทหารใน ระยะเฉพาะหน้านี้ เราต้องมีกฎเกณฑ์และมาตรการที่จะจัดการกับปัญหาคอรัปชั่นและการซื้อ เสียงอย่างได้ผล ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้มีนักวิชาการเสนอให้มีการตั้งองค์กรขึ้นเพื่อมาดูแล การเลือกตั้ง กว่ายี่สิบปีมาแล้วที่เราได้เห็นการต่อสู้ที่ต้องเสียเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อประชาธิปไตยในท้องถนนของกรุงเทพมหานครหลายต่อหลายครั้ง แต่การต่อสู้ที่ชี้ขาดประชาธิปไตยนั้นไม่ได้อยู่ที่เมืองหลวงเพียงอย่าง เดียว แต่อยู่ที่ชนบทและไม่ใช่การต่อสู้เพียงข้ามวันข้ามคืน หากต้องอาศัยการเปลี่ยนโฉมหน้าทางเศรษฐกิจสังคมของชนบทอย่างสิ้นเชิง ซึ่งกระบวนการนี้คงต้องใช้ความพยายามอย่างหนุนเนื่องไม่ขาดสาย ประชาธิปไตยที่คนชั้นกลางต้องการนั้นต้องอาศัยการสร้างพันธมิตรกับชาวชนบท เข้าใจปัญหาเขา ความคิดเขา และแก้ปัญหาให้เขา ที่สำคัญที่สุด คือ จะต้องสร้างการปกครองท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพที่ตอบสนองความต้องการต่าง ๆของเขา โดยไม่ต้องไปพึ่งพิงระบบอุปถัมภ์อย่างที่เป็นมา ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรมและความสามารถอย่างที่ชนชั้นกลางต้องการ จะต้องเคียงคู่กับประชาธิปไตยที่มุ่งหาความเป็นธรรมในสังคม และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจซึ่งชาวชนบทต้องการ
บทวิจารณ์
จาก บทความ “ฤาเป็นยักษ์ที่เพิงตื่น : ชนชั้นกลางกับการเมืองไทย” ผู้วิจารณ์มีความเห็นด้วยกับบทความนี้ เพราะชนชั้นกลางของไทย เริ่มมีบทบาททางการเมืองอย่างจริงจังในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2534 ที่มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่มีจากการรัฐประหาร การชุมนุมครั้งนั้นได้ถูกกล่าวขานว่า ม็อบมือถือ หรือ ม็อบรถเก๋ง ซึ่งช่วงนั้นถ้าคนที่มีรถเก๋ง มีมือถือใช้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นนักธุรกิจ นักบริหาร เพราะเป็นผู้ที่มีรายได้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจสูงพอสมควร กลุ่มชนชั้นกลางได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงรัฐบาลพลเอกชาติชาย เนื่องจากประเทศไทยในช่วงนั้นมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวด เร็ว ชนชั้นกลางในช่วงนี้มีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง และมีความหวังว่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ชนชั้นกลางก็ต้องผิดหวังกับรับบาลพลเอกชาติชายที่มีการคดโกง ทุจริตคอรัปชั่นขนาดใหญ่เท่าที่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ทำให้ชนชั้นกลางออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาลนี้ เมื่อคณะรัฐประหารเข้ามามีอำนาจ ชนชั้นกลางก็ออกมาต่อต้านคณะรัฐประหารที่พยายามสืบทอดอำนาจ ถือว่าชนชั้นกลางเป็นผู้ที่สามารถกำหนดทิศทางของการเมืองไทยได้ โดยเป้นผู้นำที่ออกมาเรียกร้องทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง
เมื่อเปรียบ เทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาปัจจุบัน สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ในระยะหลังคนชั้นกลางถูกอ้างอิงถึงบ่อย ในฐานะต้นตอของความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะบนเวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) แกนนำและผู้ขึ้นอภิปรายประกาศเสมอว่า พธม.เป็นพลังของคนชั้นกลางที่ต้องการทำ “สงครามศักดิ์สิทธิ์” กับ “ทุนนิยมสามานย์” เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของชนชั้นกลางกับการแบ่งขั้วทางการเมือง เช่นเดียวกับอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม-เศรษฐกิจของชนชั้นกลางในเมืองและชนบท ของไทย และชี้ให้เห็นว่า วิกฤตการเมืองที่กำลังเกิดขณะนี้ เป็นพลวัตรการปรับตัวในระบบการเมือง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของคนชั้นกลาง ทั้งสองกลุ่มดังกล่าว การขยายตัวของคนชั้นกลางไทยนั้นได้สร้างการเมืองของชนชั้นกลางขึ้น ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์การเมือง ถือเป็นประเด็นที่จะต้องศึกษากันอย่างจริงจังและเป็นระบบ
ในประเทศไทย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วหลังทศวรรษ 2510 ทำให้สัดส่วนของคนงานนั่งโต๊ะ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาชีพ เทคนิค ผู้บริหารจัดการ เสมียนและพนักงานขายต่อผู้มีงานทำทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 3.67% ในปี 2503 เป็น 7.9% ในปี 2513 , 13.8% ในปี 2534 , และ 21.3% ในปี 2542 ในภาพรวม การเกิดขึ้นของระบบทุนนิยม รัฐสมัยใหม่ แนวคิดเรื่องสิทธิและเสรีภาพ ระบบประชาธิปไตยและการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นนวัตกรรมทางสังคม ที่เกิดขึ้นบนเงื่อนไขการมีอยู่ของชนชั้นกลางทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน สถาบันและคุณค่าเหล่านี้ กลับมาเป็นบันไดให้คนชั้นกลางสามารถขยับฐานะทางสังคมของตนให้สูงขึ้น เมื่อความมั่งคั่งไม่ถูกผูกขาดจากจารีตเดิมในเรื่องสายเลือดหรือวงศ์ตระกูล อีกต่อไป ชนชั้นกลางไทยที่ปรับตัวได้เร็วและอยู่ในฐานะที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบทุน นิยมโลกได้สะดวกเท่านั้นที่สามารถรับเอาอุดมการณ์เรื่องเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ ความโปร่งใสและประสิทธิภาพมาเป็นวัฒนธรรมหลักของตน (โดยผ่านระบบการศึกษา สื่อและกลไกของรัฐ) ขณะที่ชนชั้นกลางบางส่วนและชนชั้นแรงงาน ยังระแวดระวังกับอุดมการณ์ทันสมัย เหล่านี้
วิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นผลมาจากความขัดแย้ง 2 ลักษณะคือ หนึ่ง การปะทะกันของอุดมการณ์ภายในและระหว่างชนชั้น (อันนี้มีนักวิชาการหลายคนได้พูดแล้ว) สอง ความสับสนหรือวิกฤตศรัทธาของคนชั้นกลางต่ออุดมการณ์สมัยใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นผลโดยตรงจากความไม่ต่อเนื่องและไร้ทิศทางของรัฐและสื่อ ขณะที่อีกส่วนหนึ่ง เป็นผลโดยอ้อมจากธรรมชาติหรือวัฒนธรรมของคนชั้นกลางเอง ประการแรก ลักษณะสองมาตรฐานในสังคมไทย ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ ได้ทำให้คนชั้นกลาง ที่มีจำนวนมากต้องเผชิญกับความขัดแย้งแบ่งแยกอย่างหนัก ไม่ว่าคนชั้นกลางกลุ่มนี้ จะรับเอาอุดมการณ์สมัยใหม่ โดยเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาหรือจงใจสร้างความแตกต่างจากคนกลุ่ม อื่น คือจากทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นเดียวกันก็ตาม (จะสังเกตว่ามีทั้งมิติของเวลาและสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง) แต่อุดมการณ์สมัยใหม่ของคนชั้นกลางกลุ่มนี้ ก็ปะทะขัดแย้งกับอุดมการณ์อื่นของคนชั้นกลางด้วยกัน รวมทั้งขัดแย้งกับอุดมการณ์ของชนชั้นอื่น ที่ยังไม่ยอมเชื่อใจความสมัยใหม่และการพัฒนาในทุกแง่มุม ประการที่สอง ความขัดแย้งเกิดขึ้นภายในความคิดของคนชั้นกลางสมัยใหม่เอง เมื่อคนชั้นกลางคนเดียวกันนี้ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางของอุดมการณ์ หลักของสังคมอย่างกลับหลังหันหลายต่อหลายครั้ง
นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 การเข้ามาสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย การเชิดชูระบอบทักษิณ การรัฐประหาร 19 กันยายน การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมือง การโค่นล้มระบอบทักษิณ การกลับมาของพรรคพลังประชาชน การชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม การเมืองใหม่ของพธม. ต้องยอมรับว่าภายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐไทยและสื่อกระแสหลักได้สร้างภาวะแห่งความสับสนและวิกฤตศรัทธาต่อ อุดมการณ์ของสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อคนชั้นกลางไทยส่วนใหญ่ไม่เคยตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ และแสดงบทเป็นผู้รับอยู่เสมอ การยึดถือรัฐและสื่อเป็นสรณะก็ยิ่งทำให้ความสับสนทวีคูณมากยิ่งขึ้นสุดท้าย แล้ว เมื่อมนุษย์และสังคม ต่างไม่ได้เป็นทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามของสมการ เพราะต่างกำหนดซึ่งกันและกันอย่างไม่สิ้นสุด ความสับสนของคนชั้นกลางจึงอาจเป็นเพียงภาพสะท้อนความสับสนของสังคมไทยที่ กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
กล่าวโดยสรุป ชนชั้นกลางไทย ได้มีบทบาททางการเมืองเป็นอย่างมาก โดยเริ่มจากช่วงปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ชนชั้นกลางก็ยังคงมีบทบาทในสังคมไทยเป็นอย่างมาก สาเหตุมาจากการที่ชนชั้นกลางของไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง มีความคิดและความสามารถ ดังนั้นถ้านักการเมืองมีความประพฤติมิชอบ มีการทุจริตคอรัปชั่น กลุ่มคนเหล่านี้ก็มันจะไม่พอใจ และออกมาเรียกร้องและชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่มีการคอรัปชั่น ซึ่งอาจจะเรียกกลุ่มชนชั้นกลางว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางการเมืองอีกกลุ่ม หนึ่งก็ได้เช่นกัน

2 ความคิดเห็น: