วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักธรรมาภิบาลต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลโชคชัย

จากการนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติของเทศบาลตำบลโชคชัย ซึ่งปัจจุบันเทศบาลยังคงประสบกับปัญหาจากการนำหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 ด้าน คือ เนื่องจากสภาพบริบทของประเทศไทย ยังคงเป็นชุมชนไม่เข้มแข็ง ประชาชนยังคงเข้ามามีส่วนร่วมไม่เต็มที่ เพราะประเทศไทยยังคงยึดติดกับหลักการปกครองแบบตะวันตกอยู่ ทำให้ไม่เข้ากับบริบทของพื้นที่ประเทศไทย และที่สำคัญคนไทยยังคงยึดติดกับอำระบบอุปถัมภ์และอำนาจ รวมทั้งประชาชนยังไม่กล้าที่จะแสดงออกทางการเมือง ประชาชนมักจะมีความต้องการเฉพาะสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเท่านั้น เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทาง แต่ประชาชนไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของตนเองว่ามีความสุขมากน้อยเพียงใด ประชาชนคิดเพียงว่าถ้าท้องถิ่นสร้างถนนหนทางให้ก็เพียงพอต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เทศบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เพราะเจ้าหน้าที่ของเทศบาลไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อเสนอแนะของในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ รัฐต้องมีการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่ประชาชนพึงมี ความรู้เกี่ยวกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย รวมทั้งรัฐต้องแก้ไขปัญหาด้านการซื้อสิทธิขายเสียงของประชาชนและนักการเมือง ต้องให้ประชาชนเห็นถึงโทษของการขายเสียงว่ามีผลกระทบทางด้านลบแก่ประชาชน รัฐต้องให้ความรู้แก่ประชาชนที่รู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และรัฐจะต้องปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น เพราะการปกครองท้องถิ่นถือเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นอย่างแท้จริง  การนำหลักธรรมาภิบาลด้านอื่นๆ ก็จะเกิดขึ้น ได้แก่  ด้านนิติธรรมที่ประชาชนสามารถเข้ามามีสิทธิเสนอร่างกฎหมายของท้องถิ่นได้  ด้านคุณธรรมที่ประชาชนมีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ซื้อสิทธิขายเสียง จึงทำให้ได้ผู้บริหารที่เป็นคนดีมีความสามารถเข้ามาบริหารท้องถิ่น  ด้านความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เป็นด้านที่สำคัญเพราะในฐานะที่ประชาชนเป็นผู้เสียภาษีให้แก่ท้องถิ่น เมื่อประชาชนมีความรู้เท่าทันคนอื่น มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานของท้องถิ่น ผู้บริหารก็จะไม่กล้าที่จะทุจริตหรือแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว  ด้านความรับผิดชอบ ถ้าประชาชนมีส่วนร่วมและสามารถเรียกร้องความต้องการหรือปัญหาที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ตนเอง ผู้บริหารท้องถิ่นต้องใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน  และด้านความคุ้มค่า ถ้าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจต่อการมีส่วนร่วมของตนเองในการปกครองและการบริหารงานจัดการและพัฒนาความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนให้มีมาตรฐานการครองชีพที่ดี เทียบเท่าสังคมเมือง ประชาชนในท้องถิ่นสามารถคิดริเริ่ม และดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลสูงสุดได้ รวมทั้งถ้าท้องถิ่นมีการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีคุณธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วม สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดผลคุ้มค่ามากที่สุดจำเป็นต้องบริหารจัดการให้เกิดการกระจายไปทุกชุมชนทุกหมู่บ้านจึงจะเข้าถึงหลักความคุ้มค่า ในปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยอื่น ๆ ที่อำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตประจำวันใน ยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น