จริงเท็จแค่ไหน กับฟุตบอลไทย ที่จะเหลือบุรีรัมย์แค่ทีมเดียว
ถ้าถามว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ผมมองว่ามีความเป็นได้อยู่เหมือนกัน
ตอน แรกผมค่อนข้างมั่นใจว่า พีอีเอจะถูกยุบแน่นอน เพราะMOU เซ็นไว้ 3ปี และสิทธิ์MOU อยู่กับการไฟฟ้าฯและการไฟฟ้าฯคือรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวง มหาไทย ซึ่งต้องยอมรับว่า เนวินเซ็นMOU มาได้ก็เพราะพรรคการเมืองของเนวินนั้นได้เก้าอี้ มท.ไป จึงไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย ที่จะเซ็นMOUไปอย่างง่ายได้ แต่ตอนนี้การเมืองเปลี่ยนขั้วใหม่ เป็นฝ่ายๆนึงที่ออกตัวชัดเจนว่า ไม่คืนดีกับเนวินด้วยอีกแล้ว การที่เนวินจะสามารถต่อสัญญา MOU ได้นั้นยากมากถึงมากที่สุด หรือทำได้แค่รอในช่วงอีกปีกว่าๆนั้นการเมืองจะเปลี่ยนขั้วได้ ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ เนวินกับการไฟฟ้าก็คงต้องถึงจุดจบ
และสโมสรการ ไฟฟ้านั้น เป็นสมบัติของเอกชนซึ่งก็ไม่ต่างกับสมบัติของรัฐนั้นคือ"ซื้อขายไม่ได้" หรือจะซื้อขายกันนั้นต้องถึงขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อประเมินมูลค่าซื้อขายกัน แต่ถ้าจะประเมินกันจริงๆนั้น ราคาประเมินจะสูงมากกกกกกก ชนิดที่ว่าซื้อมาก็ไม่คุ้มแน่นอน ฉะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าผมจะมองว่า การไฟฟ้าฯกับบุรีรัมย์จะแยกแทงกันแน่นอน หลังจากจบปี 2555
แต่ กระนั้นเอง เนวินก็ได้วางแผนสำรองไว้แล้วเช่นกัน นั่นคือการสร้างทีมบุรีรัมย์เอฟซีมาสำรองไว้ ยามเมื่อMOUของการไฟฟ้าหมด แล้วเกือบเหตุขัดข้องตามที่เป็นตามขั้นต้นซึ่งก็ใกล้จะเป็นจริงแล้ว เนวินได้เผื่อเวลาเอาไว้ 3ปีเพื่อที่จะดันทีมๆมาเล่นในTPLแทน ถ้ามันเกิดเหตุขัดข้องอันนี้ บุรีรัมย์เอฟซี สิทธิ์การทำทีมอยู่กับ อบจ.บุรีรัมย์ ซึ่งเนวินค่อนข้างมันใจว่าในจังหวัดนี้ยังไงสิทธิ์ก็เป็นของเค้าแน่นอน สโมสรนี้จึงน่าจะอยู่ในมือของเค้าได้ง่ายที่สุดมากกว่าการไฟฟ้าฯที่อะไรก็ ไม่แน่นอนในอนาคต
แต่ปีนี้บุรีรัมย์เอฟซี ทำท่าว่าผลงานจะดี และมีสิทธิ์ขึ้นไทยลีคปีหน้า และถ้าขึ้นมาได้จริงๆผมเป็นเนวิน ผมยอมเฉือนเนื้อตัวเอง เพื่อทำทีมแบบจริงๆจังๆเสียตอนนี้จะดีกว่า ถ้ายังไงอีก 1ปีข้างหน้าจะต้องเสียทีมการไฟฟ้าซะจริงๆ ยอมเจ็บซะตั้งแต่ตอนนี้เพื่อตั้งหลักใหม่และสร้างทีมแค่ทีมเดียวจะดีเสีย กว่า ค่าใช้จ่ายการทำสองทีมนั้นปีหนึ่งมีมาก 100ล้านอย่างแน่นอน การที่จะมาวิ่งหาเงินทุกปีๆละร้อยล้านมันเหนื่อยเกินไปในการบริหารจัดการ ถ้ายังไงฐานแน่นอยู่แล้วเพราะสองทีมสปอนเซอร์เหมือนกัน ยอมตัดทิ้งไปซักทีมการบริหารการจัดการในทีม ทั้งทีมชุดใหญ่ ทีมเยาวชน สนาม บุคคลากรในทีม และที่สำคัญ"แฟนบอล" จะช่วยให้เนวินแบ่งเบาภาระลงไปได้เยอะพอสมควร ถึงจะยอมเสียโควต้าเอเชียไปซักปีนึง ก็ยังไม่เสียหายอะไรถ้าตั้งใจจริงจะทำทีมฟุตบอลระยะยาว
สังเกตุไม๊ ครับว่า สนามนิวไอโมบายนั้น ไม่มีอะไรเลยที่แสดงถึงความเป็นการไฟฟ้าเลย นอกจากสัญลักษณ์โลโก้สโมสรการไฟฟ้าหน้าสนาม มันเป็นอะไรที่ง่ายมากที่จะเปลี่ยนจาก PEA เป็น FC ทุกอย่างเหมือนเดิมหมด แค่ตัดคำว่า PEA ออกจากโลโก้แล้วเปลี่ยนเป็น FCแทนเพราะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเมื่อสองปีที่แล้วก่อนที่จะเทคการ ไฟฟ้าฯนั้นเนวินตั้งใจจะเทคTOT ถึงกับมีโมเดลโลโก้หลุดมาให้เห็นในบอร์ดตอนหลังว่าเหมือนกันทุกอย่างเป๊ะ แค่เปลี่ยนPEA เป็น TOT
สีประจำสโมสรที่เป็นสีประจำตัวของเนวินก็มา ใช้กับ FCแทน ซึ่งก็จะเข้าทางเนวินอย่างมาก แบรนด์ปราสาทสายฟ้า สื่อถึงความเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มากกว่าภูเขาไฟลาวามากกว่าเป็นไหนๆ โลโก้ภูเขาไฟก็จะถูกทิ้งหายไปในกลีบเมฆทันทีทันใด นักฟุตบอลก็จะถูกยำรวมกัน แล้วก็จะคัดเอาทีมที่ดีที่สุดมาอยู่ในแบรนด์บุรีรัมย์เอฟซีแต่สีปราสาทสาย ฟ้า ส่วนพวกที่เหลือ ก็จะถูกโยนไปให้ ทีมการไฟฟ้าฯที่ไม่รู้ว่าใครจะรับสัมปทานต่อหรือไม่ก็ถูกลอยแพไปเลย
ที นี้ บุรีรัมย์เอฟซีก็จะเป็นทีมที่แข็งแกร่ง มีนักฟุตบอลที่ดี เพราะคัดมาแล้วจากสองทีมที่เล่นมาด้วยกันมา โควต้าเอเอฟซีจะยอมเสียให้กับทีมการไฟฟ้าฯไป แต่ด้วยทีมที่แข็งแกร่งขนาดนี้ ปีต่อไปจะเอาโควต้าเอเอฟซีอีกก็คงไม่ยาก มีโค้ชที่มีฝีมืิอถึงสองคนคนนึงอาจจะต้องถึงดันไปในตำแหน่งที่สูงกว่าเช่น ประธานฝ่ายเทคนิค และอีกคนรับลูกคุมทีมแบบเต็มตัว สนามมีสนามเดียว สัปดาห์นึงใช้แค่ครั้งเดียว ไม่ต้องเหนื่อยจัดการอะไรมาก กองเชียร์ก็ไม่ต้องเดินสายเชียร์ทั้งสองทีมอีกแล้ว(ทุกวันนี้จะเห็นได้ชัด ว่าเริ่มมีปัญหาบ้างแล้ว เวลาโปรแกรมการแข่งขันต้องเดินทางไกลๆบ่อยๆ) สุดท้ายรายจ่ายจาก 100กว่าล้านต่อปีจะเหลือแค่ 60-70ล้านต่อปี ทีนี้แหละ เนวินจะได้ทำธุรกิจฟุตบอลได้อย่างเต็มตัว มีรายได้กำไรมากกว่ารายจ่ายขาดทุนอย่าง 2ปีที่ผ่านมา และเป็นแบรนด์บุรีรัมย์เอฟซี เป็นสิทธิ์ของจังหวัดบุรีรัมย์และของคนบุรีรัมย์อย่างแท้จริง ไม่ต้องห่วงเรื่องMOU อีกต่อไป
ในที่สุดทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ ก็เหลือเพียงแค่ทีมเดียวเท่านั้น หลังจากเนวินซื้อหุ้นจากPEAทั้ง100เปอเซนต์ ส่วนทีมบุรีรัมย์fcก็ขายทีมให้แก่ทีมสงขลาfc ทำให้ปี2012เหลือเพียงแค่ทีมเดียว นั่นก็คือ ทีมฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น