ถ้าเราหลับตามองย้อนอดีต จะเห็นได้ว่า มนุษย์เรามีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มนุษย์มีความชาญฉลาด จนกระทั่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มนุษย์มีการต่อสู้แย่งชิงทรัพยากรซึ่งกันแล้วกัน ทำให้มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันมนุษย์ได้หันมารวมกลุ่มกันมากขึ้น เพื่อใช้ในการต่อรองทางเศรษฐกิจ ดังเช่น กลุ่มประเทศยุโรปรวมตัวกันเป็น กลุ่มประเทศ EU เพื่อใช้อำนาจในการต่อรองกับสหรัฐอเมริกา ทั้งหลายเหล่านี้เป็นไปตามทฤษฎีความอยู่รอดของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาถูกลดบทบาทลงอย่างมาก เพราะกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่เข้ามามีบทบาทในการต่อรองอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย ที่เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน และแหล่งเงินทุน
หากเราหันกลับมามองประเทศไทย ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่เล็กมาก แต่ถ้าหากเรารวมกับ ประเทศเล็กหลายประเทศ อย่างเช่นที่เรากำลังจะเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราก็สามารถรวมตัวกันเพิ่มมากขึ้น มีอำนาจเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งสามารถเข้าไปต่อรองกับประเทศมหาอำนาจได้ ลำพังประเทศไทยประเทศเดียวยังมีระบบเศรษฐกิจที่เล็กมากคงไม่สามารถไปต่อรองกับต่างประเทศได้ ดังนั้นการประชุมที่อินโดนีเซียจึงให้ความสนใจในการรวมตัวกันเป็นตลาดเศรษฐกิจแห่งเดียวกัน จนกระทั่งกลายเป็นประชาคมอาเซียน เป็นฐานผลิตเดียวกัน จึงทำให้มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ทั้ง 5 สาขา คือ (1) เคลื่อนย้ายการลงทุน (2) เคลื่อนย้ายการค้าขายสินค้า (3) เคลื่อนย้ายการบริการ (4) เคลื่อนย้ายแหล่งเงินทุน (5) เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2558
ในการสร้างความสามารถในการแข่งขันกับกลุ่มประเทศ EU หรือประเทศสหรัฐอเมริกาได้นั้น เราจะต้องปรับตัวและเสริมสร้างระบบการคมนาคมขนส่ง เทคโนโลยี พลังงาน การเงิน การคุ้มครองสิทธิทางปัญญาการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคกันนั้น ยังคงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะประเทศต่างๆ ยังมีช่องว่างทางเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันมาก แต่อาเซียนจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้จะต้องมีการติดต่อกับต่างประเทศ จะต้องมีการบูรณาการกับระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้เกิดอาเซียน+3 และอาเซียน+6 เมื่อมีอาเซียน+6 จะทำให้มีประชากรรวมกันถึง 3,000 ล้านคน มี GDP รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของโลก
จะเห็นได้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม เป็นทำเลที่มีความเหมาะสมที่สามารถเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ ในอาเซียน ทั้งทางบกและทางอากาศ เช่น รถไฟ และรถยนต์ เส้นทางรถไฟของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเชื่อมโยงไปยังประเทศต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในแถบประเทศอินโดจีน รวมทั้งเส้นทางรถไฟสามารถไปยังประเทศจีนทางตอนใต้ได้ ส่วนฝั่งตะวันออกสามารถเชื่อมโยงไปยังกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และเข้าสู่ประเทศเวียดนามทางตอนใต้ได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสมและเป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ ทำให้มีการวางระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในการเชื่อมโยงเส้นทางการค้าระหว่างประเทศ เส้นทางรถยนต์ก็เช่นเดียวกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่สามารถเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมไปยังประเทศต่างๆ ได้ เช่น จากกรุงเทพฯ ผ่านนครราชสีมา หนองคาย เข้าสู่ประเทศลาว ที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 แล้วไปยังพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศจีนได้ ดังนั้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สามารถเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศจีน เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญที่จะพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะผลิตสินค้าการลงทุนการพาณิชย์ที่สำคัญ ในอนาคตจะมีการลงทุนสร้างนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทยมีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เกษตรกรสามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เนื่องจากมีอัตราภาษีที่เป็นศูนย์ ไม่มีการเก็บภาษีในกลุ่มประเทศอาเซียน ผู้ประกอบการมีการปรับโครงสร้างในการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นักธุรกิจก็สามารถสร้างเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นกับผู้ประกอบการในอาเซียนได้
ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกและถูกลง สามารถจัดตั้งธุรกิจในต่างประเทศได้ง่ายขึ้น ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพ เทคโนโลยี ระบบสาธารณูปโภค และระบบขนส่งโลจิสติกส์ มีตลาดส่งออกสินค้าเพิ่มมากขึ้น ตลาดส่งออกสินค้าของไทยนั้น ส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นจำนวนมากที่สุด ทำให้มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยจึงต้องมีการปรับปรุงกลไกเพื่อความเสมอภาคอย่างเป็นรูปธรรม มีการปรับตัว ความรู้ความเข้าใจ ต้องรู้จักการบริหารความเสี่ยง และการใช้ประโยชน์สูงสุด สิ่งเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญที่จะทำให้เราเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดี
กลุ่มประเทศอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่ก่อตั้งอาเซียน และกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกใหม่ทั้ง 10 ประเทศนี้ มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน แต่จะมีความแตกต่างมากกว่า เช่น ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ส่วนความเหมือนก็จะมีเฉพาะบางวัฒนธรรมเท่านั้น ประวัติศาสตร์ของไทยมักจะกล่าวถึงการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไม่ได้มีการกล่าวถึงการทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
การที่เราจะรุกหรือรับอาเซียนนั้น เราจะต้องลืมประวัติศาสตร์ที่มีความขัดแย้งกัน เราจะต้องมีความปรองดอง มีความเป็นมิตรกันก่อนที่จะทำการค้าระหว่างประเทศได้ เศรษฐกิจของทุกประเทศต่างส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อตลาดทุนของแต่ละประเทศ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศขนาดเล็ก อย่างเช่น กรีซ ก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อที่จะทำให้กลุ่มประเทศในอาเซียนมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น มีภูมิคุ้มกันสามารถเปิดตลาดการลงทุนได้เพิ่มขึ้น กลุ่มประเทศอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่ประเทศไทยยังมีปัญหาในการสื่อสารภาษาอังกฤษอยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทยยังด้อยกว่าประเทศเหล่านี้อยู่พอสมควร แต่ถ้าเปรียบเทียบเรื่องเทคโนโลยีแล้ว สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ถือว่าเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ส่วนระบบขนส่งโลจิสติกส์ สิงคโปร์ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุด สำหรับประเทศไทยก็มีความพร้อมที่จะพัฒนาระบบรถ ราง เรือ ซึ่งเป็นจุดสำคัญมากที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งโลจิสติกส์ ส่วนประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด ก็คือ พม่า และลาว ทรัพยากรต่างๆ ยังถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก สามารถเอื้อประโยชน์ให้ไทยในฐานะเป็นเมืองอุตสาหกรรม ได้มีโอกาสก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ประเทศไทยมีจุดเด่นทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว รวมทั้งสิงคโปร์ก็เป็นผู้นำศูนย์กลางทางการเงิน และศูนย์กลางการค้าทางเรือ
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย กำหนดว่า ประชาคมอาเซียนจะต้องมี 3 เสาหลัก คือ ประชาคมเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง และสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนมีตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน การลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีหลักในการลงทุน 3 หลัก คือ (1) การลงทุนเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ (2) การลงทุนเพื่อแสวงหาทรัพยากร (3) การลงทุนเพื่อแสวงหาความรู้ ทั้ง 3 หลักนี้มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมาก เช่น การเข้าไปแสวงหาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศเพื่อนบ้าน อาจจะเป็นการตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน เพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานที่มีฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านได้มีโอกาสเข้ามาทำงาน ถ้าหากการลงทุนลักษณะนี้ มีการลงทุนเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนอาจจะทำให้ตลาดมีขนาดเล็กเกินไป แต่เมื่อมีการรวมตัวของประเทศอาเซียนกับประเทศใกล้เคียง หรือที่เรียกว่า อาเซียน+6 คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย จะทำให้ระบบเศรษฐกิจและตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจาก FTA หรือเขตการค้าเสรี ทำให้เกิดขึ้นตกลงในการค้าระหว่างประเทศที่มีอัตราภาษีที่เป็นศูนย์
ถ้ามองภาพรวมอาเซียนอาจจะถูกมองว่าเป็นตลาดล่างผสมกับตลาดบน เมื่อตลาดเปิดกว้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและคุณภาพไม่ดี โอกาสเป็นของผู้ประกอบการทุกกลุ่มที่ต้องแย่งชิงกลไกการตลาด อาเซียนมีการขยายการค้าการลงทุน จะพบว่าตลาดในอาเซียนนั้นมีความท้าทาย ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละประเทศที่สามารถแข่งขันกันได้ดี ตลาดการส่งออกอาเซียนโตขึ้นเป็น ๒ เท่า คนในอาเซียนเริ่มที่รับรู้การเป็นตลาดเสรีมากขึ้น ใน ๑๐ ประเทศอาเซียน ประเทศที่มีการตื่นตัวมากที่สุด คือ สิงคโปร์ และมาเลเซีย สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังอาเซียนมากที่สุด คือ น้ำมันสำเร็จรูป ที่ส่งออกไปยังลาวและกัมพูชา และมีการส่งออกรถยนต์มากที่สุดในอาเซียน รวมทั้งมีการส่งออกเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และคอมพิวเตอร์ไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน
ประเทศไทยมีเครือข่ายอุตสาหกรรมส่งออกเครื่องจักรกล เป็นข้อได้เปรียบประเทศอื่น ไทยสามารถเป็นฐานการผลิตเครื่องจักรกล เมื่ออุตสาหกรรมเหล่านี้ยังคงมีฐานผลิตอยู่ในประเทศไทย อุตสาหกรรมย่อยที่มีความเกี่ยวเนื่องกันก็ยังคงอยู่ในประเทศไทยเช่นกัน การเปิดเสรีทางการค้านั้น สินค้าไทยมีความได้เปรียบทางด้านสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนสินค้าเกษตรประเทศไทยมีความได้เปรียบ เฉพาะ ข้าวโพด ยางพารา ส่วนมันสำปะหลังนั้นไทยยังคงมีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีเวียดนามเป็นคู่แข่งสำคัญ น้ำมันปาล์มเป็นสินค้าที่ไทยมีความเสียเปรียบ เพราะอินโดนีเซียกับมาเลเซียสามารถครองตลาดน้ำมันปาล์มโลก สิ่งเหล่านี้ประเทศไทยจึงต้องเตรียมรับมือการแข่งขันที่มีความรุนแรงขึ้น
ถึงแม้ว่าภาษีจะเป็นศูนย์ แต่ยังคงมีมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ที่ยังคงเป็นอุปสรรคในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการเปิดเสรีทางด้านการบริการ ทางด้านการบิน ประเทศไทยนั้นมีความเข้มแข็งเพราะเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ไทยมีจุดเด่นทางด้านการท่องเที่ยว การบิน รวมทั้งมีการบริการทางด้านการแพทย์คุณภาพสูงแต่ราคาต่ำ ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบประเทศอื่นอยู่มาก แต่สิ่งที่ต้องมีการพัฒนาคือ ระบบโทรคมนาคมที่ประเทศไทยยังคงล้าหลังประเทศเพื่อนบ้านอยู่มาก การเปิดเสรีทางด้านการลงทุน จะมีนักลงทุนในอาเซียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น การลงทุนถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่นักธุรกิจไทยสามารถเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในประเทศต่างๆ ได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ นักลงทุนรายย่อย (SMEs) ของไทยที่มีจำนวนมาก เป็นเรื่องกังวลที่ไทยยังคงมีความเสียเปรียบ จะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาให้มากขึ้น การเปิดเสรีด้านการลงทุนเป็นโอกาสที่นักลงทุนไทยในบางอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็ง สามารถเข้าไปลงทุนในตลาดอาเซียนได้ อุตสาหกรรมการเกษตรของไทยมีฐานการผลิตที่ใหญ่มาก มีผลผลิตจำนวนมากพอสมควร แต่ปัญหาคือไม่มีการเพิ่มผลิตภาพ ทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ภาครัฐจึงต้องมีการศึกษาเมล็ดพันธุ์ ภาคเอกชนต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาช่วยในการเพิ่มผลผลิต
การลงทุนจะมีการพัฒนาตลาดทุน มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แต่อาจจะได้รับผลกระทบในช่วงที่ประเทศนั้นประสบกับปัญหาทางการเมือง ปัญหาทางเศรษฐกิจ เพราะเมื่อเกิดปัญหาแล้วต่างชาติจะนำเงินที่ลงทุนออกจากประเทศนั้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นต้องมีกลไกหรือมาตรการในกาควบคุมดูแลให้เงินทุนเหล่านั้นยังคงอยู่ในประเทศ เราจะต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง เพื่อพร้อมที่จะเผชิญกับผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตส่วนการเปิดเสรีทางด้านแรงงาน มีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือและแรงงานไม่มีฝีมือ เป็นปัญหาใหญ่มากที่ประเทศไทยประสบอยู่ เพราะขาดแคลนแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จึงต้องมีการอาศัยแรงงานต่างชาติ ทำให้จะต้องมีการพัฒนาทักษะและยกระดับมาตรฐานแรงงานไทยให้ดีขึ้น โดยเฉพาะแรงงานอาชีวศึกษาที่ยังขาดแคลนแรงงานอยู่มาก รัฐบาลต้องให้ความสนใจผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs จะต้องมีการปรับตัว มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพาะสินค้าใดที่มีต้นทุนต่ำกว่า สินค้านั้นจะมีโอกาสขายได้ง่ายกว่า ต้องคำนึงว่าสินค้าไทยยังคงมีราคาสูงกว่าสินค้าของประเทศอื่นในอาเซียน ดังนั้นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น และต้องพยายามหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางด้านต้นทุน โดยเราควรหันไปมองกลุ่มประเทศ CLMV กลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นโอกาสของไทยที่จะสามารถเข้าไปลงทุน มีการเปิดธุรกิจใหม่ๆ และมีการจ้างแรงงานจากประเทศเหล่านี้
นอกจากนี้จะต้องศึกษารสนิยมของตลาดอาเซียน มีการปรับแผนเพิ่มกลยุทธ์ในการรุกตลาดกลุ่มประเทศ CLMV ต้องมีการลงทน มีการพัฒนาแหล่งเงินทุนที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนที่มากขึ้น นอกจากนั้นแล้ว การลงทุนในต่างประเทศจะต้องมีเพื่อนหรือที่ปรึกษาอยู่ในประเทศเหล่านั้นด้วย เพื่อความสะดวกในการขอคำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การลงทุน และการค้า
หน้าที่ของรัฐคือ ต้องพัฒนาระบบโลจิสติกส์ มีการเตรียมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น มีการปรับปรุงระบบขนส่งที่สามารถคมนาคมได้รวดเร็วมากขึ้น จะต้องมีการส่งเสริมในการพัฒนาทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี ระบบขนส่ง และระบบโทรคมนาคม สิ่งสำคัญคือเราต้องทำความเข้าใจศึกษาข้อมูลของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และศึกษาข้อมูลพื้นฐานของประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้รับยังต้องเข้ามามีบทบาท ดังเช่น กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างชาติ มีการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพให้ดีขึ้น ส่งเสริมอุตสาหกรรมหลัก ยานยนต์ การเกษตร อาหาร และสิ่งทอ ให้มีการตั้งฐานการผลิตอยู่ในประเทศไทย ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เช่น ศิลปวัฒนธรรม อุตสาหกรรมพื้นบ้าน พยายามบูรณาการกับมหาวิทยาลัยให้มีการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และร่วมมือกับภาคเอกชนในการประชาสัมพันธ์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้ประชาชนรับทราบ
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวในหัวข้อ “โอกาส ประเทศไทย ในเวทีอาเซียน” กล่าวว่า“ถนนสู่อาเซียน ศักยภาพทางการค้า สู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม เมือง นำมาซึ่งประโยชน์อันมหาศาลต่อภาคธุรกิจ การค้าและการลงทุน” สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ไทยได้มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยคือจุดกำเนิดของอาเซียน ถือว่าเป็นมรดกทางการทูตที่นักการทูตไทยมอบให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราควรตระหนักว่าไทยคือผู้ที่คิดค้นหรือให้กำเนิดอาเซียน ประเทศไทยควรจะเตรียมความพร้อมและตระหนักถึงผลประโยชน์ของอาเซียน ซึ่งในวันนี้เราจะเห็นว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีการใช้ภาษาของอาเซียน เรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน การเข้าสู่อาเซียนนั้นคือการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ ตลาดของประเทศไทยจะขยายขึ้น 10 เท่า ตลาดจะมีการขยายกำลังซื้อเพิ่มขึ้นออกไปอีก 9 ระบบเศรษฐกิจ ขณะนี้เอเชียตะวันออกกลายเป็นจุดศูนย์กลางของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่มีพลวัตมากที่สุด อาเซียนจึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีประเทศไทยที่อยู่กึ่งกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่เพียงพอต่อการเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในอนาคต
แต่เราจะมีความพร้อมมากน้อยเพียงใดก็อยู่ที่เราเช่นกัน ถ้าเรายังไม่มีความพร้อม เราก็ไม่สามารถไปแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ และไม่สามารถเข้าไปตักตวงผลประโยชน์จากศักยภาพที่เรามีอยู่ได้ ดังนั้น AEC จะเป็นสิ่งที่เราจะได้ยินและคุ้นเคยมากขึ้นนับจากนี้ ทำให้มีการกำหนด 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนขึ้น คือ การเมืองและความมั่นคง การที่เราจะอยู่ร่วมกันทั้ง 10 ประเทศ สิ่งแรกที่เราจะทำได้ก็คือ อย่าทำสงคราม อย่าสร้างความขัดแย้งในภูมิภาค และอย่าสร้างความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพราะอาจจะสร้างความกังวลใจของประชาคมโลกได้ ต่างชาติจะไม่กล้าเข้ามาลงทุนในอาเซียน การค้าระหว่างประเทศก็ไม่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้อาจจะเข้ามาเป็นปัญหาที่ทำให้ไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ดังนั้นสิ่งแรกคือ อาเซียนจะต้องมีความเรียบร้อย มีความมั่นใจ และมีความไว้วางใจระหว่างกัน เราจะต้องมีการพูดถึงปัญหาเรื่องเขตแดน ปัญหาชายแดน เพื่อหาแนวทางในการลดความขัดแย้งภายในภูมิภาค
สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญ ก็คือ AEC: ASEAN Economic Community หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพราะเป็นสิ่งที่กระทบกับการปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจ กระทบกับตำแหน่งงาน การจ้างงาน การปรับโครงสร้างทางด้านอุตสาหกรรม การปรับตัวทางธุรกิจ กระทบกับการลงทุน การส่งออก ตลาดการลงทุน การบริการ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทบกับระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
อาเซียนคือการปรับตัวให้เข้ากับกระแสโลก เพราะทั่วโลกพูดถึงเขตการค้าเสรี อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์กรการค้าโลก โลกจะเปิดเข้าหากันมากขึ้น โลกจะเข้าสู่ยุคไร้พรมแดน มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ อาเซียนคือ กลไกที่ปรับตัวเข้าสู่โลกยุคใหม่ เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้น อาเซียนเป็นสิ่งที่ให้ประเทศสมาชิกปรับตัวเข้าสู่ประชาคมโลกที่เป็นตลาดเสรีมากขึ้น ดังนั้นต้องมองดูว่า อาเซียนสามารถกำหนดเงื่อนไข หลักการ และกลไกอย่างไรบ้าง ที่จะพยายามไม่ให้กระทบต่อการปรับตัวสู่ประชาคมอาเซียน
ประเทศไทยต้องมีการปรับตัวและเตรียมตัวเรื่องความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น เรื่องการศึกษาการผลิตทรัพยากรมนุษย์เพื่อที่จะออกสู่ตลาดที่กว้างมากขึ้น การทำกิจกรรมทางการค้าจะต้องทำโดยยุทธศาสตร์ของภาษาอาเซียน ความสามารถในการแข่งขันประเทศไทยมีความพร้อมระดับใด ไทยก็จะต้องมีการปรับตัวให้เร็วขึ้น ปัญหาคือเราจะสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้หรือไม่
ถ้าเรามองความพร้อม มองยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีเรื่องการศึกษา ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะว่า ระบบการศึกษามีจำนวนคนมาก หลายระดับ และทักษะความพร้อมความรู้ไม่เท่ากัน ทรัพยากรในด้านการศึกษา รวมทั้ง ระบบการศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษา การวิจัยและการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในด้านนี้ ประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการค้นคว้า การวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความสนใจและทุ่มเทงบประมาณเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สินค้า และผลิตภัณฑ์อย่างจริงจัง ส่วนประเทศไทยนั้นยังขาดสิ่งเหล่านี้อยู่มาก ดังนั้นประเทศไทยจึงควรเพิ่มงบประมาณงบประมาณ และให้ความสนใจในการเพิ่มจำนวนของการค้นคว้า การวิจัย และการพัฒนา
สิ่งที่น่ากลัวสำหรับประเทศไทย คือ ยังติดอยู่ในกับดักของประเทศที่มีรายได้ระดับกลาง เพราะปัจจุบันเรายังคงนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ยังไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ ทำให้การค้าระหว่างอาเซียนกับโลกคิดเป็นเพียง ร้อยละ 25 ของการค้าโลก ถ้าหากต้องการเป็นประชาคมอาเซียนจะต้องมีการค้าระหว่างประเทศถึง ร้อยละ 50 ของการค้าโลก สำหรับประเทศไทยมีเพียงบางบริษัทที่ก้าวขึ้นสู่การค้าระหว่างประเทศที่แท้จริง เช่น บริษัทSCG บริษัทCPF บริษัทPTT เป็นต้น สามารถเข้าไปเจาะตลาดในหลายประเทศ สิ่งที่ระบบเศรษฐกิจของไทยที่ต้องทำคือ จะต้องส่งเสริม ธุรกิจ SMEs ที่มีจำนวนมากถึง 80% ของระบบเศรษฐกิจโลก ปัญหาของธุรกิจ SMEs คือไม่มีคนอยู่ในพื้นที่เหล่านั้นทุกประเทศ ไม่มีทุนที่มากพอที่จะสำรวจตลาดและหาผู้ร่วมลงทุน ไม่มีฝ่ายขาย ฝ่ายวิเคราะห์ และฝ่ายวิจัย ที่มีความสามารถเพียงพอที่จะทุ่มเทให้กับการทำงานในธุรกิจ SMEs แต่องค์กรการค้าขนาดใหญ่ ธนาคารขนาดใหญ่ และบริษัทขนาดใหญ่ เขามีทีมงานเหล่านี้ที่มีคุณภาพ ธุรกิจขนาดใหญ่ได้รับประโยชน์จากกฎเกณฑ์และเงื่อนไขของอาเซียนได้มากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก กลุ่มธุรกิจ SMEs ในตลาดอาเซียนต้องมีจำนวนมาก เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่สำคัญธุรกิจการธนาคารต่างๆ และรัฐบาลต้องช่วยกันคิด เพื่อหาแนวทางในการสร้างความได้เปรียบทางการค้า
ความสามรถในการแข่งขัน จะต้องมีการเข้าถึงกองทุนเงินทุนเข้าสู่อาเซียน และจะต้องมีการติดต่อสื่อสารกับประเทศอื่นให้เกิดความเข้าใจทั้งสองฝ่าย บุคลากรที่มีวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่น มีประสบการณ์ และมีการเตรียมตัวที่ดีพอที่จะออกสู่ตลาดอาเซียน ตลาดอาเซียนเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถบุคลากรของประเทศไทย สิ่งที่ต้องทำคือ รวมตัวบุคคลที่มีความสามารถเพื่อร่วมกันพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่บุคคลที่มีความรู้ความสามารถจากประเทศไทยนั้นหาได้ยากมาก
ทัศนคติของคนไทยและธุรกิจไทยต้องทำการศึกษาประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบอย่าง เพราะเขามีการสร้างฐานการผลิตขึ้นในต่างประเทศ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์และสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล แต่นิสัยของคนไทยยังคงยึดติดกับความสะดวกสบาย ทำให้ธุรกิจไทยยังมีประสบการณ์น้อยกว่าประเทศอื่นในอาเซียน ดังนั้นคนไทยจะต้องเปลี่ยนทัศนคติ จะต้องออกไปแสวงหาผลประโยชน์ในต่างประเทศ แต่ก็ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับบริบทของประเทศเหล่านั้นด้วย ถึงแม้จะเป็นสิ่งแปลกใหม่ของคนไทย แต่เราก็ต้องทำให้ได้ เพราะสถานการณ์โลกปัจจุบันบีบบังคับให้เราต้องทำอย่างนั้น แต่เหนือสิ่งอื่นใดเราจะต้องมีความเข้าใจกฎบัตรอาเซียนเสียก่อน เพราะเป็นเสมือนกฎหมาย/ข้อบังคับของประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ยังต้องมีการติดต่อ ประสานงานกับคนอื่นให้มีความเข้าใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนในประเทศมีความเท่าเทียมกัน ในการที่จะก้าวขึ้นเป็นพลเมืองของอาเซียน ดังนั้นรับบาลจะต้องมีการทุ่มเททางด้านการศึกษาและทักษะทางภาษาให้แก่เยาวชนอายุระหว่าง 3 – 10 ปี
นับจากนี้เราจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อเดินหน้าเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้ได้โดยเร็วที่สุด ต้องมีการขยับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์ในอาเซียนได้นั้น จะต้องมีความพร้อมในสิ่งเหล่านี้ เราจะต้องพร้อมในการแข่งขัน มีการจัดระบบองคาพยพ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นผู้นำในการพัฒนาประเทศ มีบุคลากรที่สามารถติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้ เสาหลักเรื่องสังคมและวัฒนธรรม คือเสาหลักที่ทำให้คนในอาเซียนรู้จักความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามารถยอมรับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ดังนั้นเราจะต้องใช้ความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ เราสามารถผูกโยงกับต่างประเทศได้อย่างสง่างาม ทำให้เสาหลักนี้เป็นอัตลักษณ์ร่วมกันของคนในอาเซียนให้ได้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เราต้องมีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ต้องไม่มีการปิดบังข้อมูลที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อส่วนรวมในอาเซียน มีการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในอาเซียน ร่วมคิดร่วมทำและร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มประเทศสมาชิก
การเกิดขึ้นของอาเซียนเริ่มก่อตัวจากประเทศเล็กๆ ที่มาร่วมตัวกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการก่อตั้งกองทุนอาเซียน เพื่อใช้ในยามจำเป็น หรือใช้ในช่วงที่เกิดปัญหาทางวิกฤติเศรษฐกิจ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นนี้ อาเซียนได้ทำเพื่อประชาชนทั้ง 600 ล้านคน เพื่อประโยชน์ของทั้ง 10 ประเทศ ทำให้เรามีโอกาสมากขึ้น ดังนั้นพวกเราต้องตื่น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อย่าปล่อยให้ประวัติศาสตร์เป็นผู้พิพากษาหรือคอยเตือนให้เรามีความพร้อม แต่เราจะต้องมีความพร้อมและเตรียมพร้อมในทุกด้าน เพื่อได้รับประโยชน์จากการเป็นประชาคมอาเซียนให้มากที่สุด แต่เหนือสิ่งอื่นใด เราจะต้องมีการพึ่งพาตนเองให้ได้ ดังคำสุภาษิตไทยที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555
จริงเท็จแค่ไหน กับฟุตบอลไทย ที่จะเหลือบุรีรัมย์แค่ทีมเดียว
จริงเท็จแค่ไหน กับฟุตบอลไทย ที่จะเหลือบุรีรัมย์แค่ทีมเดียว
ถ้าถามว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ผมมองว่ามีความเป็นได้อยู่เหมือนกัน
ตอน แรกผมค่อนข้างมั่นใจว่า พีอีเอจะถูกยุบแน่นอน เพราะMOU เซ็นไว้ 3ปี และสิทธิ์MOU อยู่กับการไฟฟ้าฯและการไฟฟ้าฯคือรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวง มหาไทย ซึ่งต้องยอมรับว่า เนวินเซ็นMOU มาได้ก็เพราะพรรคการเมืองของเนวินนั้นได้เก้าอี้ มท.ไป จึงไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย ที่จะเซ็นMOUไปอย่างง่ายได้ แต่ตอนนี้การเมืองเปลี่ยนขั้วใหม่ เป็นฝ่ายๆนึงที่ออกตัวชัดเจนว่า ไม่คืนดีกับเนวินด้วยอีกแล้ว การที่เนวินจะสามารถต่อสัญญา MOU ได้นั้นยากมากถึงมากที่สุด หรือทำได้แค่รอในช่วงอีกปีกว่าๆนั้นการเมืองจะเปลี่ยนขั้วได้ ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ เนวินกับการไฟฟ้าก็คงต้องถึงจุดจบ
และสโมสรการ ไฟฟ้านั้น เป็นสมบัติของเอกชนซึ่งก็ไม่ต่างกับสมบัติของรัฐนั้นคือ"ซื้อขายไม่ได้" หรือจะซื้อขายกันนั้นต้องถึงขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อประเมินมูลค่าซื้อขายกัน แต่ถ้าจะประเมินกันจริงๆนั้น ราคาประเมินจะสูงมากกกกกกก ชนิดที่ว่าซื้อมาก็ไม่คุ้มแน่นอน ฉะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าผมจะมองว่า การไฟฟ้าฯกับบุรีรัมย์จะแยกแทงกันแน่นอน หลังจากจบปี 2555
แต่ กระนั้นเอง เนวินก็ได้วางแผนสำรองไว้แล้วเช่นกัน นั่นคือการสร้างทีมบุรีรัมย์เอฟซีมาสำรองไว้ ยามเมื่อMOUของการไฟฟ้าหมด แล้วเกือบเหตุขัดข้องตามที่เป็นตามขั้นต้นซึ่งก็ใกล้จะเป็นจริงแล้ว เนวินได้เผื่อเวลาเอาไว้ 3ปีเพื่อที่จะดันทีมๆมาเล่นในTPLแทน ถ้ามันเกิดเหตุขัดข้องอันนี้ บุรีรัมย์เอฟซี สิทธิ์การทำทีมอยู่กับ อบจ.บุรีรัมย์ ซึ่งเนวินค่อนข้างมันใจว่าในจังหวัดนี้ยังไงสิทธิ์ก็เป็นของเค้าแน่นอน สโมสรนี้จึงน่าจะอยู่ในมือของเค้าได้ง่ายที่สุดมากกว่าการไฟฟ้าฯที่อะไรก็ ไม่แน่นอนในอนาคต
แต่ปีนี้บุรีรัมย์เอฟซี ทำท่าว่าผลงานจะดี และมีสิทธิ์ขึ้นไทยลีคปีหน้า และถ้าขึ้นมาได้จริงๆผมเป็นเนวิน ผมยอมเฉือนเนื้อตัวเอง เพื่อทำทีมแบบจริงๆจังๆเสียตอนนี้จะดีกว่า ถ้ายังไงอีก 1ปีข้างหน้าจะต้องเสียทีมการไฟฟ้าซะจริงๆ ยอมเจ็บซะตั้งแต่ตอนนี้เพื่อตั้งหลักใหม่และสร้างทีมแค่ทีมเดียวจะดีเสีย กว่า ค่าใช้จ่ายการทำสองทีมนั้นปีหนึ่งมีมาก 100ล้านอย่างแน่นอน การที่จะมาวิ่งหาเงินทุกปีๆละร้อยล้านมันเหนื่อยเกินไปในการบริหารจัดการ ถ้ายังไงฐานแน่นอยู่แล้วเพราะสองทีมสปอนเซอร์เหมือนกัน ยอมตัดทิ้งไปซักทีมการบริหารการจัดการในทีม ทั้งทีมชุดใหญ่ ทีมเยาวชน สนาม บุคคลากรในทีม และที่สำคัญ"แฟนบอล" จะช่วยให้เนวินแบ่งเบาภาระลงไปได้เยอะพอสมควร ถึงจะยอมเสียโควต้าเอเชียไปซักปีนึง ก็ยังไม่เสียหายอะไรถ้าตั้งใจจริงจะทำทีมฟุตบอลระยะยาว
สังเกตุไม๊ ครับว่า สนามนิวไอโมบายนั้น ไม่มีอะไรเลยที่แสดงถึงความเป็นการไฟฟ้าเลย นอกจากสัญลักษณ์โลโก้สโมสรการไฟฟ้าหน้าสนาม มันเป็นอะไรที่ง่ายมากที่จะเปลี่ยนจาก PEA เป็น FC ทุกอย่างเหมือนเดิมหมด แค่ตัดคำว่า PEA ออกจากโลโก้แล้วเปลี่ยนเป็น FCแทนเพราะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเมื่อสองปีที่แล้วก่อนที่จะเทคการ ไฟฟ้าฯนั้นเนวินตั้งใจจะเทคTOT ถึงกับมีโมเดลโลโก้หลุดมาให้เห็นในบอร์ดตอนหลังว่าเหมือนกันทุกอย่างเป๊ะ แค่เปลี่ยนPEA เป็น TOT
สีประจำสโมสรที่เป็นสีประจำตัวของเนวินก็มา ใช้กับ FCแทน ซึ่งก็จะเข้าทางเนวินอย่างมาก แบรนด์ปราสาทสายฟ้า สื่อถึงความเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มากกว่าภูเขาไฟลาวามากกว่าเป็นไหนๆ โลโก้ภูเขาไฟก็จะถูกทิ้งหายไปในกลีบเมฆทันทีทันใด นักฟุตบอลก็จะถูกยำรวมกัน แล้วก็จะคัดเอาทีมที่ดีที่สุดมาอยู่ในแบรนด์บุรีรัมย์เอฟซีแต่สีปราสาทสาย ฟ้า ส่วนพวกที่เหลือ ก็จะถูกโยนไปให้ ทีมการไฟฟ้าฯที่ไม่รู้ว่าใครจะรับสัมปทานต่อหรือไม่ก็ถูกลอยแพไปเลย
ที นี้ บุรีรัมย์เอฟซีก็จะเป็นทีมที่แข็งแกร่ง มีนักฟุตบอลที่ดี เพราะคัดมาแล้วจากสองทีมที่เล่นมาด้วยกันมา โควต้าเอเอฟซีจะยอมเสียให้กับทีมการไฟฟ้าฯไป แต่ด้วยทีมที่แข็งแกร่งขนาดนี้ ปีต่อไปจะเอาโควต้าเอเอฟซีอีกก็คงไม่ยาก มีโค้ชที่มีฝีมืิอถึงสองคนคนนึงอาจจะต้องถึงดันไปในตำแหน่งที่สูงกว่าเช่น ประธานฝ่ายเทคนิค และอีกคนรับลูกคุมทีมแบบเต็มตัว สนามมีสนามเดียว สัปดาห์นึงใช้แค่ครั้งเดียว ไม่ต้องเหนื่อยจัดการอะไรมาก กองเชียร์ก็ไม่ต้องเดินสายเชียร์ทั้งสองทีมอีกแล้ว(ทุกวันนี้จะเห็นได้ชัด ว่าเริ่มมีปัญหาบ้างแล้ว เวลาโปรแกรมการแข่งขันต้องเดินทางไกลๆบ่อยๆ) สุดท้ายรายจ่ายจาก 100กว่าล้านต่อปีจะเหลือแค่ 60-70ล้านต่อปี ทีนี้แหละ เนวินจะได้ทำธุรกิจฟุตบอลได้อย่างเต็มตัว มีรายได้กำไรมากกว่ารายจ่ายขาดทุนอย่าง 2ปีที่ผ่านมา และเป็นแบรนด์บุรีรัมย์เอฟซี เป็นสิทธิ์ของจังหวัดบุรีรัมย์และของคนบุรีรัมย์อย่างแท้จริง ไม่ต้องห่วงเรื่องMOU อีกต่อไป
ในที่สุดทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ ก็เหลือเพียงแค่ทีมเดียวเท่านั้น หลังจากเนวินซื้อหุ้นจากPEAทั้ง100เปอเซนต์ ส่วนทีมบุรีรัมย์fcก็ขายทีมให้แก่ทีมสงขลาfc ทำให้ปี2012เหลือเพียงแค่ทีมเดียว นั่นก็คือ ทีมฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ถ้าถามว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ผมมองว่ามีความเป็นได้อยู่เหมือนกัน
ตอน แรกผมค่อนข้างมั่นใจว่า พีอีเอจะถูกยุบแน่นอน เพราะMOU เซ็นไว้ 3ปี และสิทธิ์MOU อยู่กับการไฟฟ้าฯและการไฟฟ้าฯคือรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวง มหาไทย ซึ่งต้องยอมรับว่า เนวินเซ็นMOU มาได้ก็เพราะพรรคการเมืองของเนวินนั้นได้เก้าอี้ มท.ไป จึงไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย ที่จะเซ็นMOUไปอย่างง่ายได้ แต่ตอนนี้การเมืองเปลี่ยนขั้วใหม่ เป็นฝ่ายๆนึงที่ออกตัวชัดเจนว่า ไม่คืนดีกับเนวินด้วยอีกแล้ว การที่เนวินจะสามารถต่อสัญญา MOU ได้นั้นยากมากถึงมากที่สุด หรือทำได้แค่รอในช่วงอีกปีกว่าๆนั้นการเมืองจะเปลี่ยนขั้วได้ ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ เนวินกับการไฟฟ้าก็คงต้องถึงจุดจบ
และสโมสรการ ไฟฟ้านั้น เป็นสมบัติของเอกชนซึ่งก็ไม่ต่างกับสมบัติของรัฐนั้นคือ"ซื้อขายไม่ได้" หรือจะซื้อขายกันนั้นต้องถึงขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อประเมินมูลค่าซื้อขายกัน แต่ถ้าจะประเมินกันจริงๆนั้น ราคาประเมินจะสูงมากกกกกกก ชนิดที่ว่าซื้อมาก็ไม่คุ้มแน่นอน ฉะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าผมจะมองว่า การไฟฟ้าฯกับบุรีรัมย์จะแยกแทงกันแน่นอน หลังจากจบปี 2555
แต่ กระนั้นเอง เนวินก็ได้วางแผนสำรองไว้แล้วเช่นกัน นั่นคือการสร้างทีมบุรีรัมย์เอฟซีมาสำรองไว้ ยามเมื่อMOUของการไฟฟ้าหมด แล้วเกือบเหตุขัดข้องตามที่เป็นตามขั้นต้นซึ่งก็ใกล้จะเป็นจริงแล้ว เนวินได้เผื่อเวลาเอาไว้ 3ปีเพื่อที่จะดันทีมๆมาเล่นในTPLแทน ถ้ามันเกิดเหตุขัดข้องอันนี้ บุรีรัมย์เอฟซี สิทธิ์การทำทีมอยู่กับ อบจ.บุรีรัมย์ ซึ่งเนวินค่อนข้างมันใจว่าในจังหวัดนี้ยังไงสิทธิ์ก็เป็นของเค้าแน่นอน สโมสรนี้จึงน่าจะอยู่ในมือของเค้าได้ง่ายที่สุดมากกว่าการไฟฟ้าฯที่อะไรก็ ไม่แน่นอนในอนาคต
แต่ปีนี้บุรีรัมย์เอฟซี ทำท่าว่าผลงานจะดี และมีสิทธิ์ขึ้นไทยลีคปีหน้า และถ้าขึ้นมาได้จริงๆผมเป็นเนวิน ผมยอมเฉือนเนื้อตัวเอง เพื่อทำทีมแบบจริงๆจังๆเสียตอนนี้จะดีกว่า ถ้ายังไงอีก 1ปีข้างหน้าจะต้องเสียทีมการไฟฟ้าซะจริงๆ ยอมเจ็บซะตั้งแต่ตอนนี้เพื่อตั้งหลักใหม่และสร้างทีมแค่ทีมเดียวจะดีเสีย กว่า ค่าใช้จ่ายการทำสองทีมนั้นปีหนึ่งมีมาก 100ล้านอย่างแน่นอน การที่จะมาวิ่งหาเงินทุกปีๆละร้อยล้านมันเหนื่อยเกินไปในการบริหารจัดการ ถ้ายังไงฐานแน่นอยู่แล้วเพราะสองทีมสปอนเซอร์เหมือนกัน ยอมตัดทิ้งไปซักทีมการบริหารการจัดการในทีม ทั้งทีมชุดใหญ่ ทีมเยาวชน สนาม บุคคลากรในทีม และที่สำคัญ"แฟนบอล" จะช่วยให้เนวินแบ่งเบาภาระลงไปได้เยอะพอสมควร ถึงจะยอมเสียโควต้าเอเชียไปซักปีนึง ก็ยังไม่เสียหายอะไรถ้าตั้งใจจริงจะทำทีมฟุตบอลระยะยาว
สังเกตุไม๊ ครับว่า สนามนิวไอโมบายนั้น ไม่มีอะไรเลยที่แสดงถึงความเป็นการไฟฟ้าเลย นอกจากสัญลักษณ์โลโก้สโมสรการไฟฟ้าหน้าสนาม มันเป็นอะไรที่ง่ายมากที่จะเปลี่ยนจาก PEA เป็น FC ทุกอย่างเหมือนเดิมหมด แค่ตัดคำว่า PEA ออกจากโลโก้แล้วเปลี่ยนเป็น FCแทนเพราะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเมื่อสองปีที่แล้วก่อนที่จะเทคการ ไฟฟ้าฯนั้นเนวินตั้งใจจะเทคTOT ถึงกับมีโมเดลโลโก้หลุดมาให้เห็นในบอร์ดตอนหลังว่าเหมือนกันทุกอย่างเป๊ะ แค่เปลี่ยนPEA เป็น TOT
สีประจำสโมสรที่เป็นสีประจำตัวของเนวินก็มา ใช้กับ FCแทน ซึ่งก็จะเข้าทางเนวินอย่างมาก แบรนด์ปราสาทสายฟ้า สื่อถึงความเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มากกว่าภูเขาไฟลาวามากกว่าเป็นไหนๆ โลโก้ภูเขาไฟก็จะถูกทิ้งหายไปในกลีบเมฆทันทีทันใด นักฟุตบอลก็จะถูกยำรวมกัน แล้วก็จะคัดเอาทีมที่ดีที่สุดมาอยู่ในแบรนด์บุรีรัมย์เอฟซีแต่สีปราสาทสาย ฟ้า ส่วนพวกที่เหลือ ก็จะถูกโยนไปให้ ทีมการไฟฟ้าฯที่ไม่รู้ว่าใครจะรับสัมปทานต่อหรือไม่ก็ถูกลอยแพไปเลย
ที นี้ บุรีรัมย์เอฟซีก็จะเป็นทีมที่แข็งแกร่ง มีนักฟุตบอลที่ดี เพราะคัดมาแล้วจากสองทีมที่เล่นมาด้วยกันมา โควต้าเอเอฟซีจะยอมเสียให้กับทีมการไฟฟ้าฯไป แต่ด้วยทีมที่แข็งแกร่งขนาดนี้ ปีต่อไปจะเอาโควต้าเอเอฟซีอีกก็คงไม่ยาก มีโค้ชที่มีฝีมืิอถึงสองคนคนนึงอาจจะต้องถึงดันไปในตำแหน่งที่สูงกว่าเช่น ประธานฝ่ายเทคนิค และอีกคนรับลูกคุมทีมแบบเต็มตัว สนามมีสนามเดียว สัปดาห์นึงใช้แค่ครั้งเดียว ไม่ต้องเหนื่อยจัดการอะไรมาก กองเชียร์ก็ไม่ต้องเดินสายเชียร์ทั้งสองทีมอีกแล้ว(ทุกวันนี้จะเห็นได้ชัด ว่าเริ่มมีปัญหาบ้างแล้ว เวลาโปรแกรมการแข่งขันต้องเดินทางไกลๆบ่อยๆ) สุดท้ายรายจ่ายจาก 100กว่าล้านต่อปีจะเหลือแค่ 60-70ล้านต่อปี ทีนี้แหละ เนวินจะได้ทำธุรกิจฟุตบอลได้อย่างเต็มตัว มีรายได้กำไรมากกว่ารายจ่ายขาดทุนอย่าง 2ปีที่ผ่านมา และเป็นแบรนด์บุรีรัมย์เอฟซี เป็นสิทธิ์ของจังหวัดบุรีรัมย์และของคนบุรีรัมย์อย่างแท้จริง ไม่ต้องห่วงเรื่องMOU อีกต่อไป
ในที่สุดทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ ก็เหลือเพียงแค่ทีมเดียวเท่านั้น หลังจากเนวินซื้อหุ้นจากPEAทั้ง100เปอเซนต์ ส่วนทีมบุรีรัมย์fcก็ขายทีมให้แก่ทีมสงขลาfc ทำให้ปี2012เหลือเพียงแค่ทีมเดียว นั่นก็คือ ทีมฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ฤาเป็นยักษ์ที่เพิงตื่น : ชนชั้นกลางกับการเมืองไทย
สาระสำคัญ
การ ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เป็นการรัฐประหารที่เกิดขึ้นครั้งที่ 10 ของประเทศไทย เป็นการถอยหลังเข้าคลองครั้งใหญ่ของประชาธิปไตย แต่ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ชนชั้นกลาง ซึ่งหมายถึงบุคคลที่เป็นนักบริหารมืออาชีพในภาคเอกชน หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ ได้เข้าร่วมชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร และประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา
ถ้าถามว่าชนชั้นกลางเป้นยักษ์ที่เพิ่ง ตื่นจริงหรือ? คำตอบอาจจะใช่ในส่วนที่เป็นยักษ์ แต่ที่เพิ่งตื่นนั้น บอกได้ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะชนชั้นกลางเป็นปัจจัยสำคัญของการเมืองมาโดยตลอด การก่อตัวของชนชั้นกลางในการเมืองไทยเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่มีการปฏิรูปประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยังไม่มีบทบาททางการเมืองมากนัก การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ชนชั้นกลางยังไม่มีบทบาททางการเมืองมากนัก เพราะคนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน การที่ชนชั้นกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเริ่มในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความทันสมัยมากขึ้น ใช้กลไกทางการตลาดในการดำเนินเศรษฐกิจ เป็นการพัฒนาที่เน้นภาคเอกชน แต่คนส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคราชการเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงนี้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง และมีผลต่อเนื่องไปถึงสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร จนเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาที่ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลจอมพล ถนอม จนทำให้จอมพลถนอมต้องลี้ภัยไปอยู่ยังต่างประเทศ
หากเปรียบเทียบ ขนาดชนชั้นกลางของไทยกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียบด้วยกัน ปรากฏว่าช่วงยุครัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คือในปี 2523-2524 อัตราส่วนของไทยอยู่ในลำดับที่ 4 และในปี 2529 ไทยได้แซงหน้าฟิลิปปินส์ไปได้ ยุคพลเอกเปรมนั้น นอกจากจะมีชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้นแล้ว เมื่อย้อนหลังไปก็เป็นช่วงตระเตรียมความคิดใหม่ต่อการมีบทบาททางการเมืองของ ชนชั้นกลางอีกด้วย กล่าวคือ ได้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของทางราชการต่อบทบาทของภาคเอกชนในการบริหาร ประเทศ โดยรัฐบาลได้เชิญ นักธุรกิจเข้ามาร่วมกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยลดบทบาทของรัฐในการ ประกอบทางเศรษฐกิจ และหันมาหนุนให้เอกชนเข้ามามีบทบาทแทนภาครัฐ ในช่วงนี้ภาคเอกชนได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแสดงที่ชอบธรรมและมีความสำคัญ นอกจากนี้องค์กรเอกชนประเภทไม่แสวงหากำไรก็ได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนด นโยบายของประเทศด้วย
พลังทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจและชน ชั้นกลางได้เริ่มมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมและมีความรู้สึกเชื่อมั่นใน ศักยภาพทางการเมืองของตน แต่เมื่อชนชั้นกลางมีความสำนักทางการเมืองมองไปที่การเมือง ก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับสภาพที่เป็นอยู่ซึ่งเต็มไปด้วยการทุจริตโกงกิน การซื้อสิทธิ์ขายเสียง และการแย่งชิงอำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การที่นายทหารกล่าวตำหนิติเตียนความไร้ประสิทธิภาพของนักการเมืองคงมีที่มา จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญคือนายทหารระดับสูงไม่อยากเป็นลูกน้องของนักการเมือง นอกจากนี้ นักวิชาการและสื่อมวลชนก็ช่วยหล่อหลอมความคิดทางการเมืองให้แก่ชนชั้นกลางไป ในทางลบต่อระบอบประชาธิปไตย จะเห็นได้จากยุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 งานวิชาการที่มีอิทธิพลทางความคิดเน้นว่าลักษณะชนชั้นและสังคมของไทยทำให้ ประชาธิปไตยไม่สามารถแก้ไขปัญหามูลฐานของประเทศ ทัศนะของนักวิชาการดูเหมือนจะสอดคล้องกับการวิจารณ์ของสื่อมวลชน ดังเห็นได้จากรายงานข่าวเกี่ยวกับเศรษฐีที่ทุ่มเงินมหาศาลให้แก่ชาวบ้าน เพื่อหวังคะแนนเสียงในช่วงเลือกตั้ง หรือสิทธิประโยชน์จากการประมูลสัมปทานต่าง ๆ ตลอดยุครัฐบาลพลเอกเปรม ชนชั้นกลางไทยได้เริ่มตื่นและเริ่มลุกขึ้นแล้วนั้น แม้จะยอมรับหลักการประชาธิปไตยทางทฤษฎี แต่ก็คงรังเกียจประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ เพราะมองว่ามันบิดเบือนไปแนวคิดในอุดมคติไปมาก
ชนชั้นกลางบนเส้นทาง สู่การรัฐประหารปี 2534 เมื่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ชนชั้นกลางบางส่วนเห็นข้อนี้เป็นพัฒนาการที่ดี แต่บางส่วนกลับวิตกว่าอาจจะได้คนที่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรมและความสามารถเข้ามาดำรงตำแหน่ง แต่ถ้ามองย้อนกลับไปรัฐบาลพลเอกชาติชายมีผลงานมากพอสมควร เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรัฐบาลได้แสดงความเป็นอิสระจากสหรัฐ อเมริกา มีความเป็นตัวเองมากขึ้น รัฐบาลได้ยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน และการประกาศปิดป่าทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการพาณิชย์
ในความคิดของคนใน เมืองที่มีการศึกษา การที่ได้รัฐบาลที่ดีไม่ใช่อยู่ที่ผลงานเท่านั้น แต่ต้องมาจากความมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ด้วย ซึ่งรัฐบาลพลเอกชาติชายถูกกล่าวหาจากหลายฝ่ายว่าเป็นรัฐบาลที่ทุจริต คอรัปชั่นขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าข้อกล่าวหานี้ไม่มีมูลความจริงก็ตาม แต่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวลกับผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา ในยุคนี้นักวิชาการได้ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านการคอรัปชั่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งคล้ายกับแนวทางของหนังสือพิมพ์ที่โจมตีการกระทำของรัฐบาล ข้อวิจารณ์ของสื่อมวลชนและนักวิชาการถูกเสริมด้วยข้อคิดเห็นจากกลุ่มองค์กร พัฒนาเอกชน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักศึกษาที่มีการจัดอภิปรายและชุมนุมทางการเมืองเป็น ระยะ ซึ่งชนชั้นกลางในกรุงเทพดูเหมือนจะคล้อยตามไปกับความเห็นเหล่านี้ เป็นที่แน่นอนว่า รัฐบาลมีข้อเสื่อมเสียจากข้อกล่าวหาการทุจริตคอรัปชั่น แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลสำคัญที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยต้องถูกโค่นล้มไป เพราะผลเกิดจากการที่รัฐบาลกับกองทัพมีความขัดแย้งกัน เกิดจากความขัดแย้งระหว่างคณะที่ปรึกษา บ้านพิษณุโลกกับผู้นำของกองทัพ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายเตรียมเผชิญหน้ากัน ฝ่ายทหารได้ใช้เหตุผลที่รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นมาเป็นข้ออ้างในการก่อรัฐ ประหาร โดยเริ่มจากการสร้างพันธมิตรกับข้าราชการประจำ ซึ่งกลุ่มข้าราชการมีความไม่พอใจที่ถูกนักการเมืองรังแกโยกย้ายตำแหน่งของ ข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม
สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร ก็คือ การเรียกร้องจากชนชั้นกลางในปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง โดยมีการโจมตีไปที่ตัวบุคคลและตัวระบอบที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ว่าเป็นสาเหตุของการทุจริตคอรัปชั่น สัญญาณของการก่อรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ก็เกิดเหตุการณ์ยึดเครื่องบินประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และชัยชนะตกเป็นของฝ่ายผู้ก่อรัฐประหารอย่างง่ายดาย
จุดยืนของชนชั้น กลางที่ไม่มีความมั่นคงต่อระบอบประชาธิปไตย เพราะ พวกเขาไม่ชอบประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ พวกเขาเชื่อว่าการเมืองเป็นเพียงประชาธิปไตยเพียงแต่ในนามเท่านั้น การที่ได้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันเช่นนี้แล้ว รัฐบาลที่ดีในทัศนะของชนชั้นกลางไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ต้องเป็นรัฐบาลที่มีความสามารถ และมีคุณธรรมด้วย ในทางกลับกันชนชั้นกลางก็ปฏิเสธระบอบอำนาจนิยมเพียงในหลักการเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาเชื่อว่าอาจจะเป็นระบอบที่ดีได้เหมือนกัน ดังนั้นการแสวงหาการปกครองที่ดีของพวกเขาจึงไม่จำกัดอยู่ในระดับการเปลี่ยน แปลงภายในระบบ เมื่อเสียงประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังขึ้น ชนชั้นกลางส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีแล้ว แต่ก็มีความหวาดกลัว และแอบหวังว่าคณะรัฐประหารคงไม่พยายามสืบทอดอำนาจของตนเอง ความหวังของพวกเขาอยู่ที่คณะรัฐประหารจะยึดผลประโยชน์สูงสุดของชาติเป็นหลัก
ชน ชั้นกลางกับการช่วงชิงประชาธิปไตยกลับคืน นโยบายและมาตรการของคณะทหาร คือ แม้จะมีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่มีการเซ็นเซอร์สื่อหนังสือพิมพ์ ไม่ยุบพรรคการเมือง และมีการสั่งสอบสวนและยึดทรัพย์สินและตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาตรวจสอบการ คอรัปชั่นของนักการเมือง ในขณะเดียวกันคณะรสช. ได้มีการประกาศว่าจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีมาตรการป้องกันการซื้อ สิทธิ์ขายเสียงและการคอรัปชั่น ทำให้ชนชั้นกลางส่วนใหญ่มีความพอใจในการกระทำของคณะรสช. ซึ่งคณะรสช.เองก็ได้เชิญนายอานันท์ ปันยารชุนเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีคณะรัฐมนตรีที่ประกอบด้วยนักบริหารชั้นนำและนักวิชาการที่ไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใดเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องจากชนชั้นกลางและนักธุรกิจเป็นจำนวนมากเช่นกัน อย่างไรก็ตามชนชั้นกลางได้มีความวิตกว่าการที่ทหารเข้ามายึดอำนาจนั้นเป็น การกลับสวนทวนกระแสพัฒนาการทางการเมืองของโลก จุดเปลี่ยนที่ทำให้ชนชั้นกลางส่วนใหญ่เปลี่ยนใจก็คือ ในระยะหลังเริ่มจะมีปรากฏการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้ก็ไม่ แตกต่างไปจากทุกครั้งที่ผ่านมา ที่ทหารพยายามยึดอำนาจและพยายามสืบทอดอำนาจของตนเอง โดยมีการตั้งพรรคสามัคคีธรรมขึ้นมาเพื่อรองรับฐานอำนาจทางการเมืองของคณะรัฐ ประหาร และมีนักการเมืองที่ถูกตรวจสอบทรัพย์สินบางคนเข้าสังกัดพรรคสามัคคีธรรมด้วย
ถึง ตอนนี้ชนชั้นกลางมีความผิดหวังกับการความไม่จริงใจของคณะรสช. อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยสูงสุดก็ชะลอตัวลงอย่างมาก ซึ่งชนชั้นกลางถือว่าเป้นความผิดพลาดของคณะรสช. ทำให้ชนชั้นกลางเริ่มสำแดงพลังคัดค้านคณะทหารอย่างจริงจังในปลายปี 2534 ด้วยการเข้าร่วมชุมนุมกับนักศึกษา นักวิชาการ และพรรคการเมือง เพื่อให้รัฐบาลเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ การประท้วงครั้งนี้เองที่มีการเรียกศัพท์ใหม่ว่า “ม็อบมือถือ” และ “ม็อบรถเก๋ง” การประท้วงครั้งนี้เป็นเสมือนการซ้อมรบของฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายทหารเท่า นั้น เพราะหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือนก็เกิดการประจันหน้าระหว่างสองฝ่าย เมื่อพลเอกสุจินดาตัดสินใจรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยไม่รักษาคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ ผลก็คือ เกิดการชุมนุมครั้งใหญ่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมถึง 500,000 คน จากการสำรวจของสมาคมสังคมสาสตร์แห่งประเทศไทย พบว่า คนชั้นกลางวัยหนุ่มสาวในภาคธุรกิจและในวัยทำงานเป็นกำลังหลักที่ออกมา เคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลต้องเข้าควบคุมสถานการณ์ ก่อให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด จนในที่สุดฝ่ายรัฐบาลก็ได้รับความพ่ายแพ้ในที่สุด ขณะที่ชนชั้นกลางไทยที่อยู่ในภาคธุรกิจเอกชนมีบทบาทสูงเด่นในช่วงที่เป็นการ ประท้วงโดยสงบ ส่วนชนชั้นกลางระดับล่างและคนชั้นล่างแสดงถึงจิตใจที่หาญกล้าผิดปกติในช่วง ที่มีการนองเลือด ปรากฏว่า หลังจากการนองเลือดแล้วชนชั้นกลางที่อยู่นอกแวดวงธุรกิจกลับกลายเป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้รัฐบาลพลเอกสุจินดาล่มสลาย
ชนชั้นกลางกับอนาคตของ ประชาธิปไตย คนชั้นกลางหรือคนเมืองที่มีรายได้และการศึกษาสูงนั้นมองว่าอุปสรรคของ ประชาธิปไตยเกิดจาก ประการแรกอยู่ที่คนในชนบทซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งส่วนใหญ่ของประเทศที่ อยู่ในความโง่เขลา ตกเป็นเหยื่อของนักการเมือง ที่ทุ่มเงินจำนวนมากในการซื้อเสียงประชาชนประการที่สองปัญหาอีกส่วนหนึ่ง อยู่ที่ฝ่ายทหาร ในสายตาของชนชั้นกลางมองว่าทหารที่ก่อรัฐประหารก็ไม่ได้เลวร้ายไปกว่านักการ เมืองที่คดโกงบ้านเมือง สำหรับชนชั้นกลางของไทยความชอบธรรมของระบอบไม่จำเป็นต้องมาจากระบวนการของ อำนาจ หากอยู่ที่การกระทำของรัฐบาลมากกว่า ในทัศนะของชนชั้นกลาง การที่ชาวชนบทเอาคะแนนเสียงของตนเองแลกกับเงินหรือผลประโยชน์ที่นักการเมือง เสนอให้ ปัญหาการซื้อเสียง และการทุจริตและคอรัปชั่นเกิดจากการที่ชนชั้นกลางและคนในชนบทมีความคิดแตก ต่างกัน ชนชั้นกลางมักจะลืมคิดว่าประชาธิปไตยที่เขาต้องการนั้นต้องอยู่ในสังคมซึ่ง ประกอบไปด้วย ปัจเจกบุคคล ที่มีความคิดอิสระไม่พึ่งพิงใคร สำหรับชาวชนบทนั้น พวกเขามีความคิดที่จะเป็นอิสระ และมองความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างแยกขาด
อย่างไรก็ตาม ชนชั้นกลางคงจะไม่เปลี่ยนทัศนะที่เคยมีต่อปัญหาประชาธิปไตยได้เร็วนักเราจึง คิดค้นและเร่งสร้างกลไกสถาบันที่จะนำมาซึ่งระบบการปกครองที่มีคุณธรรมและ ประสิทธิภาพดังเช่นที่คนชั้นกลางต้องการ อันจะเป็นการนำไปสู่การป้องกันไม่ให้พวกเขาหวนไปเป็นพันธมิตรกับฝ่ายทหารใน ระยะเฉพาะหน้านี้ เราต้องมีกฎเกณฑ์และมาตรการที่จะจัดการกับปัญหาคอรัปชั่นและการซื้อ เสียงอย่างได้ผล ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้มีนักวิชาการเสนอให้มีการตั้งองค์กรขึ้นเพื่อมาดูแล การเลือกตั้ง กว่ายี่สิบปีมาแล้วที่เราได้เห็นการต่อสู้ที่ต้องเสียเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อประชาธิปไตยในท้องถนนของกรุงเทพมหานครหลายต่อหลายครั้ง แต่การต่อสู้ที่ชี้ขาดประชาธิปไตยนั้นไม่ได้อยู่ที่เมืองหลวงเพียงอย่าง เดียว แต่อยู่ที่ชนบทและไม่ใช่การต่อสู้เพียงข้ามวันข้ามคืน หากต้องอาศัยการเปลี่ยนโฉมหน้าทางเศรษฐกิจสังคมของชนบทอย่างสิ้นเชิง ซึ่งกระบวนการนี้คงต้องใช้ความพยายามอย่างหนุนเนื่องไม่ขาดสาย ประชาธิปไตยที่คนชั้นกลางต้องการนั้นต้องอาศัยการสร้างพันธมิตรกับชาวชนบท เข้าใจปัญหาเขา ความคิดเขา และแก้ปัญหาให้เขา ที่สำคัญที่สุด คือ จะต้องสร้างการปกครองท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพที่ตอบสนองความต้องการต่าง ๆของเขา โดยไม่ต้องไปพึ่งพิงระบบอุปถัมภ์อย่างที่เป็นมา ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรมและความสามารถอย่างที่ชนชั้นกลางต้องการ จะต้องเคียงคู่กับประชาธิปไตยที่มุ่งหาความเป็นธรรมในสังคม และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจซึ่งชาวชนบทต้องการ
บทวิจารณ์
จาก บทความ “ฤาเป็นยักษ์ที่เพิงตื่น : ชนชั้นกลางกับการเมืองไทย” ผู้วิจารณ์มีความเห็นด้วยกับบทความนี้ เพราะชนชั้นกลางของไทย เริ่มมีบทบาททางการเมืองอย่างจริงจังในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2534 ที่มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่มีจากการรัฐประหาร การชุมนุมครั้งนั้นได้ถูกกล่าวขานว่า ม็อบมือถือ หรือ ม็อบรถเก๋ง ซึ่งช่วงนั้นถ้าคนที่มีรถเก๋ง มีมือถือใช้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นนักธุรกิจ นักบริหาร เพราะเป็นผู้ที่มีรายได้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจสูงพอสมควร กลุ่มชนชั้นกลางได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงรัฐบาลพลเอกชาติชาย เนื่องจากประเทศไทยในช่วงนั้นมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวด เร็ว ชนชั้นกลางในช่วงนี้มีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง และมีความหวังว่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ชนชั้นกลางก็ต้องผิดหวังกับรับบาลพลเอกชาติชายที่มีการคดโกง ทุจริตคอรัปชั่นขนาดใหญ่เท่าที่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ทำให้ชนชั้นกลางออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาลนี้ เมื่อคณะรัฐประหารเข้ามามีอำนาจ ชนชั้นกลางก็ออกมาต่อต้านคณะรัฐประหารที่พยายามสืบทอดอำนาจ ถือว่าชนชั้นกลางเป็นผู้ที่สามารถกำหนดทิศทางของการเมืองไทยได้ โดยเป้นผู้นำที่ออกมาเรียกร้องทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง
เมื่อเปรียบ เทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาปัจจุบัน สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ในระยะหลังคนชั้นกลางถูกอ้างอิงถึงบ่อย ในฐานะต้นตอของความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะบนเวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) แกนนำและผู้ขึ้นอภิปรายประกาศเสมอว่า พธม.เป็นพลังของคนชั้นกลางที่ต้องการทำ “สงครามศักดิ์สิทธิ์” กับ “ทุนนิยมสามานย์” เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของชนชั้นกลางกับการแบ่งขั้วทางการเมือง เช่นเดียวกับอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม-เศรษฐกิจของชนชั้นกลางในเมืองและชนบท ของไทย และชี้ให้เห็นว่า วิกฤตการเมืองที่กำลังเกิดขณะนี้ เป็นพลวัตรการปรับตัวในระบบการเมือง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของคนชั้นกลาง ทั้งสองกลุ่มดังกล่าว การขยายตัวของคนชั้นกลางไทยนั้นได้สร้างการเมืองของชนชั้นกลางขึ้น ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์การเมือง ถือเป็นประเด็นที่จะต้องศึกษากันอย่างจริงจังและเป็นระบบ
ในประเทศไทย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วหลังทศวรรษ 2510 ทำให้สัดส่วนของคนงานนั่งโต๊ะ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาชีพ เทคนิค ผู้บริหารจัดการ เสมียนและพนักงานขายต่อผู้มีงานทำทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 3.67% ในปี 2503 เป็น 7.9% ในปี 2513 , 13.8% ในปี 2534 , และ 21.3% ในปี 2542 ในภาพรวม การเกิดขึ้นของระบบทุนนิยม รัฐสมัยใหม่ แนวคิดเรื่องสิทธิและเสรีภาพ ระบบประชาธิปไตยและการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นนวัตกรรมทางสังคม ที่เกิดขึ้นบนเงื่อนไขการมีอยู่ของชนชั้นกลางทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน สถาบันและคุณค่าเหล่านี้ กลับมาเป็นบันไดให้คนชั้นกลางสามารถขยับฐานะทางสังคมของตนให้สูงขึ้น เมื่อความมั่งคั่งไม่ถูกผูกขาดจากจารีตเดิมในเรื่องสายเลือดหรือวงศ์ตระกูล อีกต่อไป ชนชั้นกลางไทยที่ปรับตัวได้เร็วและอยู่ในฐานะที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบทุน นิยมโลกได้สะดวกเท่านั้นที่สามารถรับเอาอุดมการณ์เรื่องเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ ความโปร่งใสและประสิทธิภาพมาเป็นวัฒนธรรมหลักของตน (โดยผ่านระบบการศึกษา สื่อและกลไกของรัฐ) ขณะที่ชนชั้นกลางบางส่วนและชนชั้นแรงงาน ยังระแวดระวังกับอุดมการณ์ทันสมัย เหล่านี้
วิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นผลมาจากความขัดแย้ง 2 ลักษณะคือ หนึ่ง การปะทะกันของอุดมการณ์ภายในและระหว่างชนชั้น (อันนี้มีนักวิชาการหลายคนได้พูดแล้ว) สอง ความสับสนหรือวิกฤตศรัทธาของคนชั้นกลางต่ออุดมการณ์สมัยใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นผลโดยตรงจากความไม่ต่อเนื่องและไร้ทิศทางของรัฐและสื่อ ขณะที่อีกส่วนหนึ่ง เป็นผลโดยอ้อมจากธรรมชาติหรือวัฒนธรรมของคนชั้นกลางเอง ประการแรก ลักษณะสองมาตรฐานในสังคมไทย ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ ได้ทำให้คนชั้นกลาง ที่มีจำนวนมากต้องเผชิญกับความขัดแย้งแบ่งแยกอย่างหนัก ไม่ว่าคนชั้นกลางกลุ่มนี้ จะรับเอาอุดมการณ์สมัยใหม่ โดยเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาหรือจงใจสร้างความแตกต่างจากคนกลุ่ม อื่น คือจากทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นเดียวกันก็ตาม (จะสังเกตว่ามีทั้งมิติของเวลาและสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง) แต่อุดมการณ์สมัยใหม่ของคนชั้นกลางกลุ่มนี้ ก็ปะทะขัดแย้งกับอุดมการณ์อื่นของคนชั้นกลางด้วยกัน รวมทั้งขัดแย้งกับอุดมการณ์ของชนชั้นอื่น ที่ยังไม่ยอมเชื่อใจความสมัยใหม่และการพัฒนาในทุกแง่มุม ประการที่สอง ความขัดแย้งเกิดขึ้นภายในความคิดของคนชั้นกลางสมัยใหม่เอง เมื่อคนชั้นกลางคนเดียวกันนี้ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางของอุดมการณ์ หลักของสังคมอย่างกลับหลังหันหลายต่อหลายครั้ง
นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 การเข้ามาสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย การเชิดชูระบอบทักษิณ การรัฐประหาร 19 กันยายน การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมือง การโค่นล้มระบอบทักษิณ การกลับมาของพรรคพลังประชาชน การชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม การเมืองใหม่ของพธม. ต้องยอมรับว่าภายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐไทยและสื่อกระแสหลักได้สร้างภาวะแห่งความสับสนและวิกฤตศรัทธาต่อ อุดมการณ์ของสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อคนชั้นกลางไทยส่วนใหญ่ไม่เคยตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ และแสดงบทเป็นผู้รับอยู่เสมอ การยึดถือรัฐและสื่อเป็นสรณะก็ยิ่งทำให้ความสับสนทวีคูณมากยิ่งขึ้นสุดท้าย แล้ว เมื่อมนุษย์และสังคม ต่างไม่ได้เป็นทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามของสมการ เพราะต่างกำหนดซึ่งกันและกันอย่างไม่สิ้นสุด ความสับสนของคนชั้นกลางจึงอาจเป็นเพียงภาพสะท้อนความสับสนของสังคมไทยที่ กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
กล่าวโดยสรุป ชนชั้นกลางไทย ได้มีบทบาททางการเมืองเป็นอย่างมาก โดยเริ่มจากช่วงปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ชนชั้นกลางก็ยังคงมีบทบาทในสังคมไทยเป็นอย่างมาก สาเหตุมาจากการที่ชนชั้นกลางของไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง มีความคิดและความสามารถ ดังนั้นถ้านักการเมืองมีความประพฤติมิชอบ มีการทุจริตคอรัปชั่น กลุ่มคนเหล่านี้ก็มันจะไม่พอใจ และออกมาเรียกร้องและชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่มีการคอรัปชั่น ซึ่งอาจจะเรียกกลุ่มชนชั้นกลางว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางการเมืองอีกกลุ่ม หนึ่งก็ได้เช่นกัน
การ ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เป็นการรัฐประหารที่เกิดขึ้นครั้งที่ 10 ของประเทศไทย เป็นการถอยหลังเข้าคลองครั้งใหญ่ของประชาธิปไตย แต่ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ชนชั้นกลาง ซึ่งหมายถึงบุคคลที่เป็นนักบริหารมืออาชีพในภาคเอกชน หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ ได้เข้าร่วมชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร และประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา
ถ้าถามว่าชนชั้นกลางเป้นยักษ์ที่เพิ่ง ตื่นจริงหรือ? คำตอบอาจจะใช่ในส่วนที่เป็นยักษ์ แต่ที่เพิ่งตื่นนั้น บอกได้ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะชนชั้นกลางเป็นปัจจัยสำคัญของการเมืองมาโดยตลอด การก่อตัวของชนชั้นกลางในการเมืองไทยเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่มีการปฏิรูปประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยังไม่มีบทบาททางการเมืองมากนัก การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ชนชั้นกลางยังไม่มีบทบาททางการเมืองมากนัก เพราะคนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน การที่ชนชั้นกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเริ่มในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความทันสมัยมากขึ้น ใช้กลไกทางการตลาดในการดำเนินเศรษฐกิจ เป็นการพัฒนาที่เน้นภาคเอกชน แต่คนส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคราชการเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงนี้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง และมีผลต่อเนื่องไปถึงสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร จนเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาที่ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลจอมพล ถนอม จนทำให้จอมพลถนอมต้องลี้ภัยไปอยู่ยังต่างประเทศ
หากเปรียบเทียบ ขนาดชนชั้นกลางของไทยกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียบด้วยกัน ปรากฏว่าช่วงยุครัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คือในปี 2523-2524 อัตราส่วนของไทยอยู่ในลำดับที่ 4 และในปี 2529 ไทยได้แซงหน้าฟิลิปปินส์ไปได้ ยุคพลเอกเปรมนั้น นอกจากจะมีชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้นแล้ว เมื่อย้อนหลังไปก็เป็นช่วงตระเตรียมความคิดใหม่ต่อการมีบทบาททางการเมืองของ ชนชั้นกลางอีกด้วย กล่าวคือ ได้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของทางราชการต่อบทบาทของภาคเอกชนในการบริหาร ประเทศ โดยรัฐบาลได้เชิญ นักธุรกิจเข้ามาร่วมกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยลดบทบาทของรัฐในการ ประกอบทางเศรษฐกิจ และหันมาหนุนให้เอกชนเข้ามามีบทบาทแทนภาครัฐ ในช่วงนี้ภาคเอกชนได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแสดงที่ชอบธรรมและมีความสำคัญ นอกจากนี้องค์กรเอกชนประเภทไม่แสวงหากำไรก็ได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนด นโยบายของประเทศด้วย
พลังทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจและชน ชั้นกลางได้เริ่มมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมและมีความรู้สึกเชื่อมั่นใน ศักยภาพทางการเมืองของตน แต่เมื่อชนชั้นกลางมีความสำนักทางการเมืองมองไปที่การเมือง ก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับสภาพที่เป็นอยู่ซึ่งเต็มไปด้วยการทุจริตโกงกิน การซื้อสิทธิ์ขายเสียง และการแย่งชิงอำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การที่นายทหารกล่าวตำหนิติเตียนความไร้ประสิทธิภาพของนักการเมืองคงมีที่มา จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญคือนายทหารระดับสูงไม่อยากเป็นลูกน้องของนักการเมือง นอกจากนี้ นักวิชาการและสื่อมวลชนก็ช่วยหล่อหลอมความคิดทางการเมืองให้แก่ชนชั้นกลางไป ในทางลบต่อระบอบประชาธิปไตย จะเห็นได้จากยุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 งานวิชาการที่มีอิทธิพลทางความคิดเน้นว่าลักษณะชนชั้นและสังคมของไทยทำให้ ประชาธิปไตยไม่สามารถแก้ไขปัญหามูลฐานของประเทศ ทัศนะของนักวิชาการดูเหมือนจะสอดคล้องกับการวิจารณ์ของสื่อมวลชน ดังเห็นได้จากรายงานข่าวเกี่ยวกับเศรษฐีที่ทุ่มเงินมหาศาลให้แก่ชาวบ้าน เพื่อหวังคะแนนเสียงในช่วงเลือกตั้ง หรือสิทธิประโยชน์จากการประมูลสัมปทานต่าง ๆ ตลอดยุครัฐบาลพลเอกเปรม ชนชั้นกลางไทยได้เริ่มตื่นและเริ่มลุกขึ้นแล้วนั้น แม้จะยอมรับหลักการประชาธิปไตยทางทฤษฎี แต่ก็คงรังเกียจประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ เพราะมองว่ามันบิดเบือนไปแนวคิดในอุดมคติไปมาก
ชนชั้นกลางบนเส้นทาง สู่การรัฐประหารปี 2534 เมื่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ชนชั้นกลางบางส่วนเห็นข้อนี้เป็นพัฒนาการที่ดี แต่บางส่วนกลับวิตกว่าอาจจะได้คนที่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรมและความสามารถเข้ามาดำรงตำแหน่ง แต่ถ้ามองย้อนกลับไปรัฐบาลพลเอกชาติชายมีผลงานมากพอสมควร เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรัฐบาลได้แสดงความเป็นอิสระจากสหรัฐ อเมริกา มีความเป็นตัวเองมากขึ้น รัฐบาลได้ยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน และการประกาศปิดป่าทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการพาณิชย์
ในความคิดของคนใน เมืองที่มีการศึกษา การที่ได้รัฐบาลที่ดีไม่ใช่อยู่ที่ผลงานเท่านั้น แต่ต้องมาจากความมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ด้วย ซึ่งรัฐบาลพลเอกชาติชายถูกกล่าวหาจากหลายฝ่ายว่าเป็นรัฐบาลที่ทุจริต คอรัปชั่นขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าข้อกล่าวหานี้ไม่มีมูลความจริงก็ตาม แต่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวลกับผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา ในยุคนี้นักวิชาการได้ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านการคอรัปชั่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งคล้ายกับแนวทางของหนังสือพิมพ์ที่โจมตีการกระทำของรัฐบาล ข้อวิจารณ์ของสื่อมวลชนและนักวิชาการถูกเสริมด้วยข้อคิดเห็นจากกลุ่มองค์กร พัฒนาเอกชน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักศึกษาที่มีการจัดอภิปรายและชุมนุมทางการเมืองเป็น ระยะ ซึ่งชนชั้นกลางในกรุงเทพดูเหมือนจะคล้อยตามไปกับความเห็นเหล่านี้ เป็นที่แน่นอนว่า รัฐบาลมีข้อเสื่อมเสียจากข้อกล่าวหาการทุจริตคอรัปชั่น แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลสำคัญที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยต้องถูกโค่นล้มไป เพราะผลเกิดจากการที่รัฐบาลกับกองทัพมีความขัดแย้งกัน เกิดจากความขัดแย้งระหว่างคณะที่ปรึกษา บ้านพิษณุโลกกับผู้นำของกองทัพ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายเตรียมเผชิญหน้ากัน ฝ่ายทหารได้ใช้เหตุผลที่รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นมาเป็นข้ออ้างในการก่อรัฐ ประหาร โดยเริ่มจากการสร้างพันธมิตรกับข้าราชการประจำ ซึ่งกลุ่มข้าราชการมีความไม่พอใจที่ถูกนักการเมืองรังแกโยกย้ายตำแหน่งของ ข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม
สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร ก็คือ การเรียกร้องจากชนชั้นกลางในปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง โดยมีการโจมตีไปที่ตัวบุคคลและตัวระบอบที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ว่าเป็นสาเหตุของการทุจริตคอรัปชั่น สัญญาณของการก่อรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ก็เกิดเหตุการณ์ยึดเครื่องบินประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และชัยชนะตกเป็นของฝ่ายผู้ก่อรัฐประหารอย่างง่ายดาย
จุดยืนของชนชั้น กลางที่ไม่มีความมั่นคงต่อระบอบประชาธิปไตย เพราะ พวกเขาไม่ชอบประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ พวกเขาเชื่อว่าการเมืองเป็นเพียงประชาธิปไตยเพียงแต่ในนามเท่านั้น การที่ได้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันเช่นนี้แล้ว รัฐบาลที่ดีในทัศนะของชนชั้นกลางไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ต้องเป็นรัฐบาลที่มีความสามารถ และมีคุณธรรมด้วย ในทางกลับกันชนชั้นกลางก็ปฏิเสธระบอบอำนาจนิยมเพียงในหลักการเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาเชื่อว่าอาจจะเป็นระบอบที่ดีได้เหมือนกัน ดังนั้นการแสวงหาการปกครองที่ดีของพวกเขาจึงไม่จำกัดอยู่ในระดับการเปลี่ยน แปลงภายในระบบ เมื่อเสียงประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังขึ้น ชนชั้นกลางส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีแล้ว แต่ก็มีความหวาดกลัว และแอบหวังว่าคณะรัฐประหารคงไม่พยายามสืบทอดอำนาจของตนเอง ความหวังของพวกเขาอยู่ที่คณะรัฐประหารจะยึดผลประโยชน์สูงสุดของชาติเป็นหลัก
ชน ชั้นกลางกับการช่วงชิงประชาธิปไตยกลับคืน นโยบายและมาตรการของคณะทหาร คือ แม้จะมีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่มีการเซ็นเซอร์สื่อหนังสือพิมพ์ ไม่ยุบพรรคการเมือง และมีการสั่งสอบสวนและยึดทรัพย์สินและตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาตรวจสอบการ คอรัปชั่นของนักการเมือง ในขณะเดียวกันคณะรสช. ได้มีการประกาศว่าจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีมาตรการป้องกันการซื้อ สิทธิ์ขายเสียงและการคอรัปชั่น ทำให้ชนชั้นกลางส่วนใหญ่มีความพอใจในการกระทำของคณะรสช. ซึ่งคณะรสช.เองก็ได้เชิญนายอานันท์ ปันยารชุนเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีคณะรัฐมนตรีที่ประกอบด้วยนักบริหารชั้นนำและนักวิชาการที่ไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใดเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องจากชนชั้นกลางและนักธุรกิจเป็นจำนวนมากเช่นกัน อย่างไรก็ตามชนชั้นกลางได้มีความวิตกว่าการที่ทหารเข้ามายึดอำนาจนั้นเป็น การกลับสวนทวนกระแสพัฒนาการทางการเมืองของโลก จุดเปลี่ยนที่ทำให้ชนชั้นกลางส่วนใหญ่เปลี่ยนใจก็คือ ในระยะหลังเริ่มจะมีปรากฏการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้ก็ไม่ แตกต่างไปจากทุกครั้งที่ผ่านมา ที่ทหารพยายามยึดอำนาจและพยายามสืบทอดอำนาจของตนเอง โดยมีการตั้งพรรคสามัคคีธรรมขึ้นมาเพื่อรองรับฐานอำนาจทางการเมืองของคณะรัฐ ประหาร และมีนักการเมืองที่ถูกตรวจสอบทรัพย์สินบางคนเข้าสังกัดพรรคสามัคคีธรรมด้วย
ถึง ตอนนี้ชนชั้นกลางมีความผิดหวังกับการความไม่จริงใจของคณะรสช. อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยสูงสุดก็ชะลอตัวลงอย่างมาก ซึ่งชนชั้นกลางถือว่าเป้นความผิดพลาดของคณะรสช. ทำให้ชนชั้นกลางเริ่มสำแดงพลังคัดค้านคณะทหารอย่างจริงจังในปลายปี 2534 ด้วยการเข้าร่วมชุมนุมกับนักศึกษา นักวิชาการ และพรรคการเมือง เพื่อให้รัฐบาลเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ การประท้วงครั้งนี้เองที่มีการเรียกศัพท์ใหม่ว่า “ม็อบมือถือ” และ “ม็อบรถเก๋ง” การประท้วงครั้งนี้เป็นเสมือนการซ้อมรบของฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายทหารเท่า นั้น เพราะหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือนก็เกิดการประจันหน้าระหว่างสองฝ่าย เมื่อพลเอกสุจินดาตัดสินใจรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยไม่รักษาคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ ผลก็คือ เกิดการชุมนุมครั้งใหญ่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมถึง 500,000 คน จากการสำรวจของสมาคมสังคมสาสตร์แห่งประเทศไทย พบว่า คนชั้นกลางวัยหนุ่มสาวในภาคธุรกิจและในวัยทำงานเป็นกำลังหลักที่ออกมา เคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลต้องเข้าควบคุมสถานการณ์ ก่อให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด จนในที่สุดฝ่ายรัฐบาลก็ได้รับความพ่ายแพ้ในที่สุด ขณะที่ชนชั้นกลางไทยที่อยู่ในภาคธุรกิจเอกชนมีบทบาทสูงเด่นในช่วงที่เป็นการ ประท้วงโดยสงบ ส่วนชนชั้นกลางระดับล่างและคนชั้นล่างแสดงถึงจิตใจที่หาญกล้าผิดปกติในช่วง ที่มีการนองเลือด ปรากฏว่า หลังจากการนองเลือดแล้วชนชั้นกลางที่อยู่นอกแวดวงธุรกิจกลับกลายเป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้รัฐบาลพลเอกสุจินดาล่มสลาย
ชนชั้นกลางกับอนาคตของ ประชาธิปไตย คนชั้นกลางหรือคนเมืองที่มีรายได้และการศึกษาสูงนั้นมองว่าอุปสรรคของ ประชาธิปไตยเกิดจาก ประการแรกอยู่ที่คนในชนบทซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งส่วนใหญ่ของประเทศที่ อยู่ในความโง่เขลา ตกเป็นเหยื่อของนักการเมือง ที่ทุ่มเงินจำนวนมากในการซื้อเสียงประชาชนประการที่สองปัญหาอีกส่วนหนึ่ง อยู่ที่ฝ่ายทหาร ในสายตาของชนชั้นกลางมองว่าทหารที่ก่อรัฐประหารก็ไม่ได้เลวร้ายไปกว่านักการ เมืองที่คดโกงบ้านเมือง สำหรับชนชั้นกลางของไทยความชอบธรรมของระบอบไม่จำเป็นต้องมาจากระบวนการของ อำนาจ หากอยู่ที่การกระทำของรัฐบาลมากกว่า ในทัศนะของชนชั้นกลาง การที่ชาวชนบทเอาคะแนนเสียงของตนเองแลกกับเงินหรือผลประโยชน์ที่นักการเมือง เสนอให้ ปัญหาการซื้อเสียง และการทุจริตและคอรัปชั่นเกิดจากการที่ชนชั้นกลางและคนในชนบทมีความคิดแตก ต่างกัน ชนชั้นกลางมักจะลืมคิดว่าประชาธิปไตยที่เขาต้องการนั้นต้องอยู่ในสังคมซึ่ง ประกอบไปด้วย ปัจเจกบุคคล ที่มีความคิดอิสระไม่พึ่งพิงใคร สำหรับชาวชนบทนั้น พวกเขามีความคิดที่จะเป็นอิสระ และมองความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างแยกขาด
อย่างไรก็ตาม ชนชั้นกลางคงจะไม่เปลี่ยนทัศนะที่เคยมีต่อปัญหาประชาธิปไตยได้เร็วนักเราจึง คิดค้นและเร่งสร้างกลไกสถาบันที่จะนำมาซึ่งระบบการปกครองที่มีคุณธรรมและ ประสิทธิภาพดังเช่นที่คนชั้นกลางต้องการ อันจะเป็นการนำไปสู่การป้องกันไม่ให้พวกเขาหวนไปเป็นพันธมิตรกับฝ่ายทหารใน ระยะเฉพาะหน้านี้ เราต้องมีกฎเกณฑ์และมาตรการที่จะจัดการกับปัญหาคอรัปชั่นและการซื้อ เสียงอย่างได้ผล ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้มีนักวิชาการเสนอให้มีการตั้งองค์กรขึ้นเพื่อมาดูแล การเลือกตั้ง กว่ายี่สิบปีมาแล้วที่เราได้เห็นการต่อสู้ที่ต้องเสียเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อประชาธิปไตยในท้องถนนของกรุงเทพมหานครหลายต่อหลายครั้ง แต่การต่อสู้ที่ชี้ขาดประชาธิปไตยนั้นไม่ได้อยู่ที่เมืองหลวงเพียงอย่าง เดียว แต่อยู่ที่ชนบทและไม่ใช่การต่อสู้เพียงข้ามวันข้ามคืน หากต้องอาศัยการเปลี่ยนโฉมหน้าทางเศรษฐกิจสังคมของชนบทอย่างสิ้นเชิง ซึ่งกระบวนการนี้คงต้องใช้ความพยายามอย่างหนุนเนื่องไม่ขาดสาย ประชาธิปไตยที่คนชั้นกลางต้องการนั้นต้องอาศัยการสร้างพันธมิตรกับชาวชนบท เข้าใจปัญหาเขา ความคิดเขา และแก้ปัญหาให้เขา ที่สำคัญที่สุด คือ จะต้องสร้างการปกครองท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพที่ตอบสนองความต้องการต่าง ๆของเขา โดยไม่ต้องไปพึ่งพิงระบบอุปถัมภ์อย่างที่เป็นมา ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรมและความสามารถอย่างที่ชนชั้นกลางต้องการ จะต้องเคียงคู่กับประชาธิปไตยที่มุ่งหาความเป็นธรรมในสังคม และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจซึ่งชาวชนบทต้องการ
บทวิจารณ์
จาก บทความ “ฤาเป็นยักษ์ที่เพิงตื่น : ชนชั้นกลางกับการเมืองไทย” ผู้วิจารณ์มีความเห็นด้วยกับบทความนี้ เพราะชนชั้นกลางของไทย เริ่มมีบทบาททางการเมืองอย่างจริงจังในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2534 ที่มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่มีจากการรัฐประหาร การชุมนุมครั้งนั้นได้ถูกกล่าวขานว่า ม็อบมือถือ หรือ ม็อบรถเก๋ง ซึ่งช่วงนั้นถ้าคนที่มีรถเก๋ง มีมือถือใช้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นนักธุรกิจ นักบริหาร เพราะเป็นผู้ที่มีรายได้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจสูงพอสมควร กลุ่มชนชั้นกลางได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงรัฐบาลพลเอกชาติชาย เนื่องจากประเทศไทยในช่วงนั้นมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวด เร็ว ชนชั้นกลางในช่วงนี้มีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง และมีความหวังว่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ชนชั้นกลางก็ต้องผิดหวังกับรับบาลพลเอกชาติชายที่มีการคดโกง ทุจริตคอรัปชั่นขนาดใหญ่เท่าที่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ทำให้ชนชั้นกลางออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาลนี้ เมื่อคณะรัฐประหารเข้ามามีอำนาจ ชนชั้นกลางก็ออกมาต่อต้านคณะรัฐประหารที่พยายามสืบทอดอำนาจ ถือว่าชนชั้นกลางเป็นผู้ที่สามารถกำหนดทิศทางของการเมืองไทยได้ โดยเป้นผู้นำที่ออกมาเรียกร้องทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง
เมื่อเปรียบ เทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาปัจจุบัน สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ในระยะหลังคนชั้นกลางถูกอ้างอิงถึงบ่อย ในฐานะต้นตอของความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะบนเวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) แกนนำและผู้ขึ้นอภิปรายประกาศเสมอว่า พธม.เป็นพลังของคนชั้นกลางที่ต้องการทำ “สงครามศักดิ์สิทธิ์” กับ “ทุนนิยมสามานย์” เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของชนชั้นกลางกับการแบ่งขั้วทางการเมือง เช่นเดียวกับอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม-เศรษฐกิจของชนชั้นกลางในเมืองและชนบท ของไทย และชี้ให้เห็นว่า วิกฤตการเมืองที่กำลังเกิดขณะนี้ เป็นพลวัตรการปรับตัวในระบบการเมือง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของคนชั้นกลาง ทั้งสองกลุ่มดังกล่าว การขยายตัวของคนชั้นกลางไทยนั้นได้สร้างการเมืองของชนชั้นกลางขึ้น ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์การเมือง ถือเป็นประเด็นที่จะต้องศึกษากันอย่างจริงจังและเป็นระบบ
ในประเทศไทย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วหลังทศวรรษ 2510 ทำให้สัดส่วนของคนงานนั่งโต๊ะ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาชีพ เทคนิค ผู้บริหารจัดการ เสมียนและพนักงานขายต่อผู้มีงานทำทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 3.67% ในปี 2503 เป็น 7.9% ในปี 2513 , 13.8% ในปี 2534 , และ 21.3% ในปี 2542 ในภาพรวม การเกิดขึ้นของระบบทุนนิยม รัฐสมัยใหม่ แนวคิดเรื่องสิทธิและเสรีภาพ ระบบประชาธิปไตยและการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นนวัตกรรมทางสังคม ที่เกิดขึ้นบนเงื่อนไขการมีอยู่ของชนชั้นกลางทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน สถาบันและคุณค่าเหล่านี้ กลับมาเป็นบันไดให้คนชั้นกลางสามารถขยับฐานะทางสังคมของตนให้สูงขึ้น เมื่อความมั่งคั่งไม่ถูกผูกขาดจากจารีตเดิมในเรื่องสายเลือดหรือวงศ์ตระกูล อีกต่อไป ชนชั้นกลางไทยที่ปรับตัวได้เร็วและอยู่ในฐานะที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบทุน นิยมโลกได้สะดวกเท่านั้นที่สามารถรับเอาอุดมการณ์เรื่องเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ ความโปร่งใสและประสิทธิภาพมาเป็นวัฒนธรรมหลักของตน (โดยผ่านระบบการศึกษา สื่อและกลไกของรัฐ) ขณะที่ชนชั้นกลางบางส่วนและชนชั้นแรงงาน ยังระแวดระวังกับอุดมการณ์ทันสมัย เหล่านี้
วิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นผลมาจากความขัดแย้ง 2 ลักษณะคือ หนึ่ง การปะทะกันของอุดมการณ์ภายในและระหว่างชนชั้น (อันนี้มีนักวิชาการหลายคนได้พูดแล้ว) สอง ความสับสนหรือวิกฤตศรัทธาของคนชั้นกลางต่ออุดมการณ์สมัยใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นผลโดยตรงจากความไม่ต่อเนื่องและไร้ทิศทางของรัฐและสื่อ ขณะที่อีกส่วนหนึ่ง เป็นผลโดยอ้อมจากธรรมชาติหรือวัฒนธรรมของคนชั้นกลางเอง ประการแรก ลักษณะสองมาตรฐานในสังคมไทย ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ ได้ทำให้คนชั้นกลาง ที่มีจำนวนมากต้องเผชิญกับความขัดแย้งแบ่งแยกอย่างหนัก ไม่ว่าคนชั้นกลางกลุ่มนี้ จะรับเอาอุดมการณ์สมัยใหม่ โดยเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาหรือจงใจสร้างความแตกต่างจากคนกลุ่ม อื่น คือจากทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นเดียวกันก็ตาม (จะสังเกตว่ามีทั้งมิติของเวลาและสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง) แต่อุดมการณ์สมัยใหม่ของคนชั้นกลางกลุ่มนี้ ก็ปะทะขัดแย้งกับอุดมการณ์อื่นของคนชั้นกลางด้วยกัน รวมทั้งขัดแย้งกับอุดมการณ์ของชนชั้นอื่น ที่ยังไม่ยอมเชื่อใจความสมัยใหม่และการพัฒนาในทุกแง่มุม ประการที่สอง ความขัดแย้งเกิดขึ้นภายในความคิดของคนชั้นกลางสมัยใหม่เอง เมื่อคนชั้นกลางคนเดียวกันนี้ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางของอุดมการณ์ หลักของสังคมอย่างกลับหลังหันหลายต่อหลายครั้ง
นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 การเข้ามาสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย การเชิดชูระบอบทักษิณ การรัฐประหาร 19 กันยายน การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมือง การโค่นล้มระบอบทักษิณ การกลับมาของพรรคพลังประชาชน การชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม การเมืองใหม่ของพธม. ต้องยอมรับว่าภายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐไทยและสื่อกระแสหลักได้สร้างภาวะแห่งความสับสนและวิกฤตศรัทธาต่อ อุดมการณ์ของสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อคนชั้นกลางไทยส่วนใหญ่ไม่เคยตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ และแสดงบทเป็นผู้รับอยู่เสมอ การยึดถือรัฐและสื่อเป็นสรณะก็ยิ่งทำให้ความสับสนทวีคูณมากยิ่งขึ้นสุดท้าย แล้ว เมื่อมนุษย์และสังคม ต่างไม่ได้เป็นทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามของสมการ เพราะต่างกำหนดซึ่งกันและกันอย่างไม่สิ้นสุด ความสับสนของคนชั้นกลางจึงอาจเป็นเพียงภาพสะท้อนความสับสนของสังคมไทยที่ กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
กล่าวโดยสรุป ชนชั้นกลางไทย ได้มีบทบาททางการเมืองเป็นอย่างมาก โดยเริ่มจากช่วงปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ชนชั้นกลางก็ยังคงมีบทบาทในสังคมไทยเป็นอย่างมาก สาเหตุมาจากการที่ชนชั้นกลางของไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง มีความคิดและความสามารถ ดังนั้นถ้านักการเมืองมีความประพฤติมิชอบ มีการทุจริตคอรัปชั่น กลุ่มคนเหล่านี้ก็มันจะไม่พอใจ และออกมาเรียกร้องและชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่มีการคอรัปชั่น ซึ่งอาจจะเรียกกลุ่มชนชั้นกลางว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางการเมืองอีกกลุ่ม หนึ่งก็ได้เช่นกัน
การแก้ไขกฎข้อบังคับเกี่ยวกับเงินสนับสนุนของ อบจ. ที่มีต่อทีมฟุตบอลจังหวัด
หลังจากนำเสนอกรณีนี้ไปแล้ว วันนี้ของพูดถึงอีกครั้ง>>จากกรณีที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่งให้แก้ไขกฎข้อบังคับเกี่ยวกับเงินสนับสนุนของ อบจ. ที่มีต่อทีมฟุตบอลจังหวัด หลังมีข่าว สตง.เข้าตรวจสอบทีมฟุตบอลที่รับเงินผิดกฎ ซึ่ง \"วรวีร์ มะกูดี นายกบอลไทย เป็นคนรายงานข้อเท็จจริงทั้งหมด โดย \"นายกปู\" สั่งให้ \"บิ๊กโต้ง\" กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี สั่งการ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เร่งแก้ไขโดยด่วน..>>ใจจริงผมไม่อยากให้เป็นแบบนี้เลย เพราะเอาเงินรัฐไปให้เอกชนใช้เปล่า แบบนี้ทีมไหนพรรคการเมืองหนุนอยุ่ โดยเฉพาะมี อบจ.สนับสนุน ก็ได้เปรียบ แถมเป็นการเอาเงินภาษีไปให้เอกชนเฉยเลย หรือบางทีมเอาเงินสนับสนุนมาเข้ากระเป๋าตัวเองซะเพราะส่วนมาก นายก อบจ กับ สส. และคนทำทีม ก็มาจาก พวกเดียวกันทั้งนั้น ผมกลัวว่างบประมาณของอบจ. จะถูกนักการเมืองฉวยโอกาสคอรัปชั่นจากการแก้ไขระเบียบฉบับนี้....ผมกลัวว่า งบประมาณของอบจ. จะถูกนักการเมืองฉวยโอกาสคอรัปชั่นจากการแก้ไขระเบียบฉบับนี้ แต่ถ้าจะแก้ไข ก็ควรกำหนดรายละเอียดที่ชัดเจนว่า ควรใช้งบประมาณด้านกีฬาเท่าไร กำหนดวิธีการนำไปใช้ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างของพวกที่จะฉวยโอกาสทุจริตงบประมาณของ อบจ.ทางด้านสนับสนุนฟุตบอลสโมสร ผมขอให้ท่านช่วยวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเสียก่อน และนำเสนอทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ในฐานะนักรัฐศาสตร์ สายบริหาร ที่ชื่นชอบฟุตบอลไทย)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม คือ ต้องมี ปัจจัยนำ-ปัจจัยเอื้อ-ปัจจัยเสริม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกเรื่องในชีวิตประจำวันของเรา
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม คือ ต้องมี ปัจจัยนำ-ปัจจัยเอื้อ-ปัจจัยเสริม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกเรื่องในชีวิตประจำวันของเรา ยกตัวอย่าง สมมติว่าเราต้องการทานส้มตำในมื้อเที่ยง (ปัจจัยนำ) เราก้ต้องมองหาร้านอาหารที่อร่อย(ปัจจัยเอื้อ) และที่สำคัญเราก้ต้องถามความเห็นเพื่อนๆเราก่อน(ปัจจัยเสริม) ซึ่งถ้าเราขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไป เราก็จะไม่ประสบความสำเร็จตามที่เราต้องการนั่นเอง>>> ดัดแปลงจากผอ.กองสาธารณสุขฯ ทต.โชคชัย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม คือ ต้องมี ปัจจัยนำ-ปัจจัยเอื้อ-ปัจจัยเสริม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกเรื่องในชีวิตประจำวันของเรา ยกตัวอย่าง สมมติว่าเราต้องการทานส้มตำในมื้อเที่ยง (ปัจจัยนำ) เราก้ต้องมองหาร้านอาหารที่อร่อย(ปัจจัยเอื้อ) และที่สำคัญเราก้ต้องถามความเห็นเพื่อนๆเราก่อน(ปัจจัยเสริม) ซึ่งถ้าเราขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไป เราก็จะไม่ประสบความสำเร็จตามที่เราต้องการนั่นเอง>>> ดัดแปลงจากผอ.กองสาธารณสุขฯ ทต.โชคชัย
หลักธรรมาภิบาลต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลโชคชัย
จากการนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติของเทศบาลตำบลโชคชัย ซึ่งปัจจุบันเทศบาลยังคงประสบกับปัญหาจากการนำหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 ด้าน คือ เนื่องจากสภาพบริบทของประเทศไทย ยังคงเป็นชุมชนไม่เข้มแข็ง ประชาชนยังคงเข้ามามีส่วนร่วมไม่เต็มที่ เพราะประเทศไทยยังคงยึดติดกับหลักการปกครองแบบตะวันตกอยู่ ทำให้ไม่เข้ากับบริบทของพื้นที่ประเทศไทย และที่สำคัญคนไทยยังคงยึดติดกับอำระบบอุปถัมภ์และอำนาจ รวมทั้งประชาชนยังไม่กล้าที่จะแสดงออกทางการเมือง ประชาชนมักจะมีความต้องการเฉพาะสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเท่านั้น เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทาง แต่ประชาชนไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของตนเองว่ามีความสุขมากน้อยเพียงใด ประชาชนคิดเพียงว่าถ้าท้องถิ่นสร้างถนนหนทางให้ก็เพียงพอต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เทศบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เพราะเจ้าหน้าที่ของเทศบาลไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อเสนอแนะของในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ รัฐต้องมีการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่ประชาชนพึงมี ความรู้เกี่ยวกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย รวมทั้งรัฐต้องแก้ไขปัญหาด้านการซื้อสิทธิขายเสียงของประชาชนและนักการเมือง ต้องให้ประชาชนเห็นถึงโทษของการขายเสียงว่ามีผลกระทบทางด้านลบแก่ประชาชน รัฐต้องให้ความรู้แก่ประชาชนที่รู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และรัฐจะต้องปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น เพราะการปกครองท้องถิ่นถือเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นอย่างแท้จริง การนำหลักธรรมาภิบาลด้านอื่นๆ ก็จะเกิดขึ้น ได้แก่ ด้านนิติธรรมที่ประชาชนสามารถเข้ามามีสิทธิเสนอร่างกฎหมายของท้องถิ่นได้ ด้านคุณธรรมที่ประชาชนมีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ซื้อสิทธิขายเสียง จึงทำให้ได้ผู้บริหารที่เป็นคนดีมีความสามารถเข้ามาบริหารท้องถิ่น ด้านความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เป็นด้านที่สำคัญเพราะในฐานะที่ประชาชนเป็นผู้เสียภาษีให้แก่ท้องถิ่น เมื่อประชาชนมีความรู้เท่าทันคนอื่น มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานของท้องถิ่น ผู้บริหารก็จะไม่กล้าที่จะทุจริตหรือแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ด้านความรับผิดชอบ ถ้าประชาชนมีส่วนร่วมและสามารถเรียกร้องความต้องการหรือปัญหาที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ตนเอง ผู้บริหารท้องถิ่นต้องใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน และด้านความคุ้มค่า ถ้าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจต่อการมีส่วนร่วมของตนเองในการปกครองและการบริหารงานจัดการและพัฒนาความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนให้มีมาตรฐานการครองชีพที่ดี เทียบเท่าสังคมเมือง ประชาชนในท้องถิ่นสามารถคิดริเริ่ม และดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลสูงสุดได้ รวมทั้งถ้าท้องถิ่นมีการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีคุณธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วม สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดผลคุ้มค่ามากที่สุดจำเป็นต้องบริหารจัดการให้เกิดการกระจายไปทุกชุมชนทุกหมู่บ้านจึงจะเข้าถึงหลักความคุ้มค่า ในปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยอื่น ๆ ที่อำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตประจำวันใน ยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทวิเคราะห์ปัญหาน้ำท่วมประเทศไทย 2554
ปฐมเหตุก่อนน้ำท่วมประเทศไทย 2554
ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงกลางปีจนถึงปลายปีของประเทศไทย เกิดจากพายุที่พัดผ่านประเทศไทยอย่างมากมาย จนทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเกินความกักเก็บของอ่างเก็บน้ำบนเขื่อน ช่วงเดือนสิงหาคมอิทธิพลของพายุนกเตน ได้ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคตะวันออกของไทยจนทำให้ถูก น้ำท่วมในหลายๆพื้นที่ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการพยากรณ์อากาศ รายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว ความสูงของคลื่น รายงานพยากรณ์อากาศประจำวันและพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง รวมทั้งออกประกาศเตือนต่างๆ กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีพายุพัดผ่านประเทศไทย ถึง 20ลูก อาจจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายๆพื้นที่ได้ จึงประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว
จากเหตุการณ์ที่เกิดพายุพัดผ่านประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนทางตอนบนของประเทศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนสิริกิติ์ ที่ต้องระบายน้ำออกจากเขื่อนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนได้รับผลกระทบจากการถูกน้ำท่วม รวมทั้งเขื่อนภูมิพลที่มีการระบายน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบริเวณภาคกลางของประเทศไทย
จากคำพูดของส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์คนหนึ่งได้กล่าวหาทางฝ่ายรัฐบาลว่า รัฐบาลบริหารความเสี่ยงผิดพลาด โดยเอาคำพูดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมากล่างอ้าง บอกว่า การจัดการน้ำปีนี้เกิดจากการพร่องน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในปริมาณน้อยเกินไป แต่ถ้าสามารถพร่องน้ำเหลือครึ่งเขื่อน จะทำให้ปัญหาเบาลง และส.ส.พัทลุงคนนี้อ้างตามคำพูดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 5กันยายน พูดว่า ได้สั่งให้กรมชลประทานไปประสานงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้ลดการระบายน้ำเขื่อนภูมิพลและหน่วงน้ำไม่ให้เกิน 2090 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งกรมชลประทาน เป็นหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีหน้าที่จัดให้ได้มาซึ่งน้ำเพื่อกักเก็บรักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือ แบ่งน้ำเพื่อการเกษตร การพลังงาน การสาธารณูปโภค หรือการอุตสาหกรรม และหมายรวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ กับการคมนาคมทางน้ำซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน รวมถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงพลังงาน มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้าใช้ภายในประเทศไทย โดยรับผิดชอบเสมือนเป็นเจ้าของเขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศไทย สาเหตุที่มีการไม่ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนในช่วงนั้น เพราะพื้นที่ท้ายเขื่อนเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ ของกลุ่มผู้มีอิทธิพลในจังหวัดสุพรรณบุรี วิเคราะห์ง่ายๆ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นคนของผู้มีอิทธิพลในจังหวัดสุพรรณบุรี ดังนั้น เขาสามารถควบคุมหรือสั่งการกรมชลประทานให้ลดการระบายน้ำออกจากเขื่อนได้ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง และอีกประการหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วม ตั้งแต่จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ลงมาสู่พื้นที่ตอนล่างภาคกลาง แต่ในช่วงแรกจังหวัดสุพรรณบุรี ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเลย ซึ่งชาวบ้านที่ชัยนาทได้พูดว่า ถ้าชัยนาทรวมกับสุพรรณบุรี น้ำก็คงไม่ท่วมชัยนาทหรอก จากคำพูดของชาวบ้านคนนี้ สามารถวิเคราะห์และพิจารณาจากข้อมูลได้ ดังนี้ สาเหตุที่น้ำไม่ท่วมสุพรรณบุรี อาจจะเกิดจากไม่มีการปล่อยน้ำไปทางสุพรรณบุรี ซึ่งทางรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกมาโต้แย้งออกมาว่า การบริหารจัดการน้ำต้องดูตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการระบายน้ำฝั่งตะวันตกนั้น ทำได้ช้ากว่าฝั่งตะวันออก เพราะปากแม่น้ำท่าจีน มีลักษณะแคบ ไม่ได้มาจากสาเหตุที่มาจากการป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมสุพรรณบุรี อย่างที่หลายๆฝ่ายกล่าวหา
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เผย ชี้แจง รมว.พลังงาน ให้ทราบเรื่องการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ว่า กฟผ.ดำเนินการตามแผนการระบายน้ำของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ซึ่งพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพน้ำในขณะนั้น เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ กฟผ. ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ตามที่สื่อมวลชนบางฉบับเสนอบทความว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตำหนิ กฟผ. ที่ไม่ได้เตรียมรับมือกับปริมาณน้ำฝนจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ลำน้ำยม ซึ่งมีปริมาณมากนั้น ทาง กฟผ. ได้ประสานกับทางรัฐมนตรีแล้วทราบว่าอาจเกิดจากความเข้าใจผิดในการสัมภาษณ์ ทาง กฟผ. ได้เรียนข้อมูลให้รัฐมนตรีทราบถึงปริมาณน้ำฝนที่ตกจำนวนมากทั้งบริเวณท้ายเขื่อนและในลุ่มน้ำที่ยังไม่มีระบบชลประทานรองรับ เช่น แม่น้ำยม แม่น้ำวัง ซึ่งมีเพียงเขื่อนขนาดเล็กทางต้นน้ำ รวมทั้งแม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งมีปริมาณรวมกันประมาณร้อยละ ๘๐ ของปริมาณน้ำที่ลงมาในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นต้นเหตุหลักของปริมาณน้ำจำนวนมากที่ท่วมในพื้นที่ภาคกลางและบริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน การแก้ไขในระยะยาวจึงเสนอให้รัฐบาลพิจารณาถึงการสร้างระบบชลประทานรองรับในลุ่มน้ำดังกล่าว โดยเฉพาะลุ่มน้ำยมซึ่งมีปริมาณน้ำมาก
ทั้งนี้ จากข้อมูลน้ำที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาในเดือนกันยายน – ตุลาคม ซึ่งเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ มีปริมาณน้ำทั้งสิ้น 21039 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่เขื่อนภูมิพลระบายน้ำในเดือนกันยายน – ตุลาคม จำนวน 2722 ล้าน ลบ.ม. หรือเท่ากับร้อยละ 13 ของปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ได้กล่าวยืนยันว่า กฟผ. ได้ระบายน้ำออกจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ตามแผนการระบายน้ำของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ที่มีกรมชลประทานเป็นประธาน และอีก 8 หน่วยงานร่วมเป็นกรรมการ ประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ กฟผ. ซึ่งกำหนดแผนการระบายน้ำเป็นรายสัปดาห์และรายวันมาโดยตลอด ซึ่งได้พิจารณาถึงประโยชน์ในการเกษตรกรรม การบรรเทาอุทกภัย และการอุปโภคบริโภค เป็นหลัก ส่วนการผลิตไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการระบายน้ำเท่านั้น ทั้งนี้ ในการระบายน้ำ ทางอนุกรรมการฯ จะควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำของแต่ละเขื่อน ซึ่งได้จัดทำจากสถิติทางอุทกศาสตร์ย้อนหลัง 30-40 ปี อย่างไรก็ดี กฟผ. จะได้นำข้อมูลน้ำปีนี้ ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ มาปรับปรุงเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
จากข้อความข้างต้น สามารถวิเคราะห์การทำงานของหน่วยงานภาครัฐได้ว่า การทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ ถึงแม้จะมีการประสานการทำงานร่วมกันของหลายๆหน่วยงาน แต่การทำงานอาจจะยังไม่ประสบความสำเร็จ การดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างถาวรก็ยังไม่เกิดขึ้น เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ซึ่งจุดสำคัญของปัญหาน้ำท่วม เกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของกรมชลประทานในการสั่งให้ระบายน้ำออกจากเขื่อน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่มีหน้าที่รับผิดชอบเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ที่ได้มีการระบายน้ำออกจากเขื่อนที่บริหารจัดการน้ำผิดพลาด
น้ำท่วมภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน
หลังจากเขื่อนภูมิพลระบายน้ำออกจากเขื่อนแล้วนั้น จังหวัดตากปละจังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดแรกที่ได้รับผลกระทบจากการถูกน้ำท่วม แต่ระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนรับทราบยังไม่ดี การแจ้งเตือนไม่ทั่วถึง และทำให้ประชาชนเตรียมรับมือกับภัยน้ำท่วมไม่ทัน ส่งผลให้ประชาชนหลายคนได้รับความเดือนร้อน สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ภายหลังน้ำท่วมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้ให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ หน่วยงานที่มีบทบาทหลังน้ำท่วม คือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติภารกิจที่เคยซ้ำซ้อนอยู่ในหน่วยงานอื่นๆ ให้เป็นระบบ โดยมีภารกิจในการจัดทำแผนแม่บท วางมาตรการ ส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันบรรเทาและฟื้นฟูจากสาธารณภัย โดยกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย สร้างระบบป้องกัน เตือนภัย ฟื้นฟูหลังเกิดภัย และการติดตามประเมินผล เพื่อให้หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้เข้าให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ซึ่งได้มีการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ที่มีหน้าที่สั่งการและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ภายในจังหวัด คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าฯมีหน้าที่สั่งการและคอยประสานงานกับหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือพี่น้องประชาชน
สำหรับจังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักมากจังหวัดหนึ่ง เพราะเป็นพื้นที่รองรับน้ำจากภาคเหนือ จากแม่น้ำ ปิง วัง ยม และน่าน ไหลลงมารวมกันจนกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากน้ำโพ ทำให้หน่วยงานราชการ ห้างร้านเอกชน และประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ รวมมือกันสร้างแนวป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมในตัวเมืองนครสวรรค์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามัคคี และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่คนไทย ซึ่งผู้ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือประชาชน นอกจากข้าราชการพลเรือน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการของหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังมีเหล่าทหารที่ออกมาให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชน โดยกองทัพบกยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันพื้นที่ชุมชนและพื้นที่สำคัญไม่ให้ถูกน้ำท่วม โดยร่วมกับสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์และภาคประชาชน ทำพนังกั้นน้ำ เสริมความแข็งแรง และป้องกันแนวคันกั้นน้ำอย่างต่อเนื่อง
จากข้อมูลข้างต้น สามารถอธิบายได้ว่า การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมล่วงหน้า ซึ่งอาจจะมาจากอยู่ในช่วงเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ของไทย รวมถึงงบประมาณที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหายังไม่เพียงพอ ไม่สามารถนำเงินงบประมาณออกมาใช้ได้ทันท่วงที ซึ่งในช่วงเกิดวิกฤตน้ำท่วมอยู่ในช่วงปลายปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลชุดที่แล้ว ได้นำเงินไปบริหารประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบันที่เพิ่งเข้ามาบริหารประเทศ ไม่มีเงินที่จะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ ส่วนนโยบายที่รัฐบาลชุดนี้ ที่มีต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมก็ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ เพราะรัฐบาลยังเป็นรัฐบาลใหม่ การดำเนินการบริหารประเทศยังไม่มีความเต็มที่ การดำเนินนโยบายต่างๆ ก็อยู่ในขั้นเตรียมการ การสั่งการของรัฐบาลก็อาจจะยังไม่มีความชัดเจนทางด้านของข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำในเขื่อน รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่ตกบริเวณประเทศไทย
บทวิเคราะห์ตัวแบบในการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ผู้ที่มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือประชาชน คือ หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชน ซึ่งการช่วยเหลือแบ่งเป็น การบรรจุกระสอบทรายเพื่อทำแนวคันกั้นน้ำ การแจกถุงยังชีพ การเข้าไปช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากอันตราย การตั้งศูนย์บัญชาการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รัฐบาลต้องมีการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และระบบการบริหารจัดการน้ำที่ดี โดยต้องเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ซึ่งเราสามารถนำหลักทฤษฎีเกี่ยวกับตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเข้ามาใช้ได้ ผู้เขียนจึงให้มุมมองไว้ดังนี้
1. มุมมองตัวแบบผู้นำ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้นำทางการเมือง นั่นก็คือ รัฐบาล และนักการเมือง ส่วนองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ นั่นก็คือ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และสุดท้ายประชาชนเป็นผู้ปฏิบัติ/ยอมรับผลกระทบจากนโยบาย ซึ่งในการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการวางแนวจัดการน้ำที่ดี ประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายจะมีจำนวนมากที่สุด ส่วนองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีบทบาทในการดำเนินนโยบาย โดยที่ผู้ที่กำหนดนโยบายก็คือ รัฐบาลและนักการเมือง ถ้าหากรัฐบาลต้องการดำเนินนโยบายสร้างเขื่อนบริเวณแม่น้ำยม ซึ่งเป็นจุดที่สามารถสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ได้ ซึ่งถ้ารัฐบาลดำเนินโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนด นโยบายแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ถ้าเป็นเช่นนั้นอาจจะทำให้ประชาชนบริเวณพื้นที่สร้างเขื่อนจะได้รับผลกระทบซึ่งอาจจะขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2. มุมมองตัวแบบสถาบัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล และฝ่ายตุลาการ ได้แก่ ผู้พิพากษา ศาล ซึ่งในการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการวางแนวจัดการน้ำที่ดี จะเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายขึ้นเป็นกฎหมาย โดยฝ่ายบริหารจะเป็นผู้กำหนดนโยบายขึ้น ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายหรือนโยบายนั้น เมื่อฝ่ายรัฐสภาแล้ว จึงจะสามารถนำไปกำหนดเป็นกฎหมายและนำไปปฏิบัติต่อไปได้ ส่วนฝ่ายตุลาการมีหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุมและพิจารณาข้อกฎหมายว่าขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วไปหรือไม่ ถ้าหากรัฐบาลต้องการดำเนินนโยบายสร้างเขื่อนบริเวณแม่น้ำยม หรือเขื่อนแก่งเสือเต้น รัฐบาลจะต้องเสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย เพื่อนำไปดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งสมาชิกรัฐสภา เป็นตัวแทนของประชาชนที่เข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ และกำหนดนโยบายและกฎหมายต่างๆ แทนประชาชน ซึ่งถูกว่าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทางอ้อม
3. มุมมองตัวแบบกระบวนการ อธิบายว่า นโยบายเป็นกิจกรรมทางการเมือง ประกอบไปด้วยกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ซึ่งชุดของกิจกรรมดังกล่าวเน้นถึงความต่อเนื่อง ทำให้การกำหนดนโยบายต้องเป็นเรื่องที่ใช้เหตุและผลในการกำหนดนโยบาย เช่น การมีอำนาจ ผลประโยชน์ การประนีประนอม การใช้ศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังเช่น การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถ้าหากรัฐบาลจะดำเนินการสร้างเขื่อนหรือการย้ายเมืองเพื่อหนีน้ำท่วม จะต้องมีเหตุผลที่ดี มีความถูกต้อง และจะต้องเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย รวมถึงเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วม ฝ่ายหนึ่งจะสร้างคันกั้นน้ำ แต่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับผลเสียเพิ่มขึ้น จนเข้าไปทำลายคันกั้นน้ำ ถ้ามีการเข้ามีเจรจา ตกลงกัน เพื่อยุติความขัดแย้ง ทุกอย่างก็จะไม่เกิดผลเสียหายเพิ่มมากขึ้น
4. มุมมองตัวแบบระบบ อธิบายว่า นโยบายเป็นผลผลิตของระบบการเมือง ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า คือ ข้อเรียกร้องและข้อสนับสนุน กระบวนการตัดสินใจ และสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเป็นไปได้ในขณะนั้น เช่น สภาพการเมือง สภาพเศรษฐกิจ ถ้าหากรัฐบาลดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งดำเนินการตามข้อสนับสนุนจากนักวิชาการ และข้อเรียกร้องหรือความต้องการของประชาชน เช่น ข้อเสนอจากนักวิชาการที่แนะนำให้มีการย้ายเมืองหลวงใหม่ เมื่อรัฐบาลนำข้อเรียกร้องและข้อสนับสนุนดังกล่าว เมื่อผ่านกระบวนการพิจารณาจากฝ่ายการเมืองแล้ว กลายมาเป็นแนวทางกำหนดเป็นนโยบายในการสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ทำให้ได้ผลผลิตคือ นโยบายการสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ซึ่งเป็นการตัดสินใจจากฝ่ายการเมือง ซึ่งทำให้มีข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้ที่เสนอแนวทางและผู้เรียกร้องให้เกิดการย้ายเมืองหลวงอีกครั้ง ถือว่าเป็นการกระทำตามความต้องการของประชาชน
5. มุมมองตัวแบบกระแสและหน้าต่าง อธิบายว่า นโยบายเกิดขึ้นมาจากการมาบรรจบกันของ 3 เงื่อนไข คือ กระแสเกี่ยวกับประเด็นปัญหา กระแสเกี่ยวกับนโยบาย และกระแสเกี่ยวกับการเมือง กล่าวคือ ถ้าสังคมให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับปัญหาน้ำท่วม พร้อมทั้งต้องการผลักดันให้เป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหา โดยมีฝ่ายการเมืองเข้ามาสนับสนุน ตัวอย่างเช่น นโยบายเกี่ยวกับการสร้างแก้มลิงเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถ้ามีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งนโยบายนี้ได้ดำเนินการมาก่อนที่จะเกิดปัญหาน้ำท่วม เมื่อปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นพอดี นโยบายนี้ก็จะไปสอดรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที
6. มุมมองตัวแบบกลุ่ม อธิบายว่า นโยบายเป็นผลมาจากการสร้างดุลยภาพของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นการต่อรองกันระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการได้รับประโยชน์จากนโยบาย การตัดสินใจจึงเป็นเรื่องที่อยู่ภายใต้การประนีประนอมของกลุ่มต่างๆ ซึ่งสามารถนำปัญหาน้ำท่วมมาวิเคราะห์ได้ ดังนี้ การแก้ไขและเยี่ยวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม กลุ่มนักการเมืองก็มักจะเข้ามาเจรจาต่อรองเพื่อนำเงินงบประมาณไปลงในเขตรับผิดชอบของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่นักการเมืองมักจะตกลงกันได้ก็ต่อเมื่อ มีผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายพอใจ หรือที่เรียกว่า เกิดจุดดุลยภาพ ดังนั้น ตามตัวแบบนี้ นักการเมืองมักจะไม่คำนึงถึงความต้องการและปัญหาที่ต้องแก้ไข แต่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับเท่านั้น
จากการอธิบายทั้ง 6 ตัวแบบ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์นโยบายในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของประเทศไทยได้ ซึ่งแต่ละตัวแบบจะมีข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ถ้าหากรัฐบาลเลือกนำตัวแบบที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ข้าราชการ และประชาชน การนำนโยบายไปปฏิบัติก็จึงสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ปัญหาน้ำท่วมประเทศไทย 2554 เป็นปัญหาใหญ่ที่คนไทยทุกคนต้องเผชิญด้วยกัน ถ้าหากผู้นำหรือรัฐบาลสามารถบริหารประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ โดยทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหา ไม่ควรเลือกข้างเลือกสี ไม่ควรทะเลาะหรือขัดแย้งกันแล้ว ควรหันหน้าคุยกัน แล้วร่วมกันฟันฝ่าวิกฤตให้ผ่านพ้นไปให้ได้โดยเร็วที่สุด
การเปรียบเทียบข้อเหมือนและข้อแตกต่างของรัฐธรรมนูญอังกฤษกับสหรัฐอเมริกา
การเปรียบเทียบข้อเหมือนและข้อแตกต่างของรัฐธรรมนูญอังกฤษกับสหรัฐอเมริกา
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของแต่ละประเทศที่บังคับใช้เพื่อเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการ ควบคุมให้ประเทศนั้นเกิดความสงบร่มเย็น ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ หลายคนมักจะสงสัยว่าคำว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” และ “รัฐธรรมนูญ” แตกต่างกันอย่างไร ผู้เขียนขออธิบายดังนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายกลุ่มหนึ่งที่ว่าด้วยการจัดองค์กรของรัฐและการใช้อำนาจรัฐ ส่วนรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐเป็นรายฉบับๆ ไป เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" และไม่เรียกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ ส่วนในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้นมีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีตประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย
ผู้เขียนกำลังจะอธิบายให้เข้าใจถึงลักษณะของข้อเหมือนและข้อแตกต่างของรัฐธรรมนูญอังกฤษกับสหรัฐอเมริกา โดยจะเริ่มอธิบายลักษณะที่มีความเหมือนกันเป็นลำดับแรก คือ ทั้งสองประเทศมีการใช้ระบบการปกครองที่มีความเป็นประชาธิปไตย มีการจัดการเลือกตั้ง เพื่อเลือกผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารในการบริหารประเทศ ซึ่งทั้งสองประเทศมีสถาบันหลักที่สำคัญคล้ายกัน คือ มีสถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันตุลาการ ที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
ในส่วนของลักษณะที่มีความแตกต่างกันของรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาและพบข้อแตกต่างของระบบของรัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศนี้หลายประการ คือ ประเทศอังกฤษ มีการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรียกว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ เพราะอังกฤษเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่อังกฤษได้สร้างกฎเกณฑ์การปกครองประเทศที่เป็นมรดกสำคัญ ซึ่งทิ้งไว้ให้แก่โลก คือ ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาขึ้น ดังที่มีประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก ต่างพากันใช้ระบบนี้ภายใต้ความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันของ 3 สถาบันหลัก ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร เน้นให้เห็นหลักสำคัญของการปกครองประเทศและกลไกที่ทำให้สหรัฐคงความเป็นประชาธิปไตยได้ยั่งยืนมั่นคง และยังก้าวไปข้างหน้าได้มากกว่าประเทศ ส่วนใหญ่ในโลก ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ผู้เขียนจะอธิบายลักษณะความแตกต่างของรัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศ ดังนี้
1. ประเทศอังกฤษเรียกรัฐธรรมนูญของตนเองว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกว่า รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายความแตกต่างของทั้งสองคำนี้แล้วว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายกลุ่มหนึ่งที่ว่าด้วยการจัดองค์กรของรัฐและการใช้อำนาจรัฐ ส่วนรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐเป็นรายฉบับๆ ไป
2. สืบเนื่องจากข้อแรก ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะ อังกฤษได้สร้างกฎเกณฑ์จารีตประเพณีเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ แต่อังกฤษก็ได้มีการออกกฎหมายต่าง ๆ ขึ้นไว้ใช้มากมาย เพียงแต่ไม่ได้รวบรวมขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ยังใช้บังคับอยู่ยาวนาน และเก่าแก่ที่สุดในโลก
3. กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษคือรัฐธรรมนูญที่มีชีวิต เพราะ หลักการปกครองต่าง ๆ ไม่ได้อยู่รวมกันเป็นรัฐธรรมนูญเฉพาะ แต่กระจายอยู่ตามกฎหมายต่าง ๆ และคำพิพากษาต่างๆ รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติที่ สืบทอดกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณี จึงมีความยืดหยุ่นสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต ส่วนรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาคือเอกสารอันยั่งยืน เพราะเขียนขึ้นอย่างเรียบง่ายไม่กำหนดรายละเอียดมากมาย สิ่งที่ถูกกำหนดเป็นเพียงหลักการกว้างๆ เท่านั้น แต่จะเปิดช่องเอาไว้ เพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามสมควร
4. หลักการสำคัญของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ คือ อังกฤษมีรูปแบบการปกครองเป็นรัฐเดี่ยว ในการใช้อำนาจบัญญัติกฎหมาย ผู้ใช้อำนาจนี้ได้แก่ พระมหากษัตริย์ สภาขุนนาง และสภาสามัญพระราชบัญญัติของรัฐสภาถือเป็นกฎหมายสูงสุดไม่มีกฎหมายใดมีอำนาจเหนือกว่า และที่สำคัญคือ อังกฤษใช้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภาภายใต้พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ส่วนหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา คือ สหรัฐอเมริกามีรูปแบบการปกครองเป็นสหพันธรัฐ มีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐบาลมลรัฐกับรัฐบาลกลาง มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลกลางเพื่ออาศัยเป็นกลไกในการจำกัดอำนาจของรัฐบาล และสหรัฐอเมริกาใช้ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี
5. ประเทศอังกฤษมีนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ รัฐสภาอังกฤษมีอำนาจหลักในการบัญญัติกฎหมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สภา ได้แก่ สภาสามัญชน เป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้ง และสภาขุนนาง เป็นสภาที่ไม่ได้เลือกตั้งจากประชาชน แต่มาจากการสืบเชื้อสายและการแต่งตั้งขึ้น ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นประมุขของประเทศ ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
6. ประเทศอังกฤษ มีการควบคุมการใช้อำนาจ อำนาจในการตรวจสอบและถ่วงดุลของฝ่ายตุลาการจะไม่มีต่อฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะศาลไม่มีอำนาจพิจารณาว่ากฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่สามารถตรวจสอบได้ว่าฝ่ายบริหารได้ใช้อำนาจเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายให้ไว้หรือไม่ ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารมีความทับซ้อนในตัวบุคคลกันอยู่ ความทับซ้อนกันนี้สามารถเรียกว่า ระบบควบอำนาจ เพราะถึงรัฐบาลจะมาจากเสียงข้างมากของสภาสามัญชน แต่สภาขุนนางก็ยังทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจเสมอ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา มีการควบคุมการใช้อำนาจ มีการกำหนดให้มีการตรวจสอบหรือคานอำนาจซึ่งกันและกัน เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการออกพระราชบัญญัติ แต่ประธานาธิบดีมีสิทธิยับยั้งได้ แต่หากร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่านความเห็นชอบ 2 ใน 3 ของฝ่ายนิติบัญญัติก็สามารถออกเป็นกฎหมายได้ ในทางกลับกัน ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาได้ ซึ่งหลักการสร้างดุลอำนาจหรือคานอำนาจนี้ ใช้หลักการที่ว่า อำนาจย่อมหยุดยั้งได้โดยอำนาจ
7. ประเทศอังกฤษมีสถาบันหลักที่สำคัญ 3 สถาบัน แต่มีลักษณะที่ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ระหว่างกันอย่างเด็ดขาด ทั้งในแง่ตัวบุคคล และในแง่ของบทบาทและหน้าที่ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการกำหนดให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันของแต่ละฝ่ายเอาไว้อย่างสมดุล และมีการแบ่งแยกอำนาจของทั้งสามฝ่ายอย่างชัดเจน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศจะมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ เนื่องจากบริบทของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สภาพภูมิประเทศ ลักษณะประชากร วัฒนธรรม จารีตประเพณี รวมทั้งวิวัฒนาการทางการปกครองของแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้การกำหนดกรอบหรือกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในประเทศนั้นๆ ย่อมต้องบัญญัติขึ้นตามบริบทของแต่ละประเทศ และต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชน ถ้าการบัญญัติกฎหมายเป็นไปอย่างถูกวิธีและสิ่งที่ควรจะเป็น ก็จะก่อให้เกิดความความสงบสุขของประเทศ ก่อให้เกิดความอยู่ดีกินดีของประชาชน ความสงบสุขของสังคม ความเจริญรุ่งเรืองของชาติบ้านเมือง และสุดท้ายก็จะทำให้ประเทศชาติรุดหน้าและดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีในสายตาของนานาประเทศ บนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน
เอกสารอ้างอิง
ณัฐกร วิทิตานนท์. หลักรัฐธรรมนูญเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
วิชัย ตันศิริ. รัฐธรรมนูญประเทศตะวันตกและไทย : กรณีศึกษาทางประวัติศาสตร์และกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, 2540.
วิษณุ เครืองาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : นิติบรรณการ, 2530.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. ประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษ ใน ประชาธิปไตย : อุดมการณ์ หลักการ และ แบบอย่างการปกครองหลายประเทศ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
วิษณุ เครืองาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : นิติบรรณการ, 2530.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. ประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษ ใน ประชาธิปไตย : อุดมการณ์ หลักการ และ แบบอย่างการปกครองหลายประเทศ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)