พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ กับชาว IT
--------------------------------------------------------------------------------
เมื่อได้อ่าน พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้ว เริ่มเครียดครับ เนื่องจาก ผู้ให้บริการ Hosting และ Webprograming ต้องยุ่งยากในการเขียนเก็บข้อมูลของผู้เข้ามาใช้งาน ว่าโดยเฉพาะการ เช็ค IP , วันเวลาที่เข้ามาใช้งาน และอีกหลาย ๆ อย่างซึ่งนอกจากเรื่องการพัฒนาโปรแกรมแล้ว ยังต้องมีการเก็บไฟล์ซึ่งทำให้ฐานข้อมูลโตขึ้นอีกด้วย ทั้งยังเว็บบอร์ด อันเป็นที่นิยมของเหล่านักโพส ทั้งหลาย ซึ่งวันนึง วันนึง ไม่รู้มีใครมาโพส เป็นจำนวนร้อย - พัน ต่อวัน คราวนี้เหล่าชาวเว็บมาสเตอร์ และผู้ดูแลโฮสติ้ง ต้องหนาว ๆ ร้อน ๆ ไปตาม ๆ กัน ต่อไป ใครทำอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ขาข้างนึงคงก้าวเข้าไปอยู่ในคุกล่ะนะครับ
พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ เอกสาร ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ การลงพระปรมาภิไธย และการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐
พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะมีผลกับท่าน และที่สำคัญ คือผู้ให้บริการ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน/นักศึกษาในองค์กร ท่านมีหน้าที่หลายอย่าง ในฐานะ "ผู้ให้บริการ"
พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะมีผลกับท่าน และที่สำคัญ คือผู้ให้บริการ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน/นักศึกษาในองค์กร ท่านมีหน้าที่หลายอย่าง ในฐานะ "ผู้ให้บริการ"
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลธรรมดาท่านไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะเป็นหนทางที่ทำให้ท่าน "กระทำความผิด" ตาม พรบ.นี้
อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น
อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต
อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
อย่านำ user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
อย่า กด "remember me" หรือ "remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security
อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเอง ไม่ว่าโดยบังเอิญ หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทำไมเราจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างบนนี้? เชิญอ่านรายละเอียดเต็มๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรทำ เพื่อทราบเหตุผล และความผิดที่เกี่ยวข้อง
ผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการ อาจจะเป็นท่าน หรือหน่วยงานของท่าน ผู้ให้บริการมีหน้าที่และสิ่งที่ต้องทำมากกว่าบุคคลทั่วไป สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจ คือ
ผู้ให้บริการ นอกจากจะหมายถึง Internet Service Provider ทั่วไปแล้ว ยังหมายถึง ผู้ดูแลเว็บ และครอบคลุมถึงหน่วยงานที่มีการจัดบริการออนไลน์ บริการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ รวมทั้งเจ้าของเว็บบอร์ด ล้วนแล้วเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น หากท่านเปิดบริการให้สาธารณชน เข้ามาใช้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรือสามารถแพร่ข้อความ ภาพ และเสียง ผ่านเว็บที่ท่านเป็นเจ้าของ
ผู้ให้บริการตามกฎหมายนี้ ต้องทำตามหน้าที่ของ ผู้ให้บริการ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติฯนี้ กล่าวคือ
"มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการ และต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง...
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฎิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท"
เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำหน้าที่ของผู้ให้บริการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษา Traffic data ของผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ให้บริการทุกแบบ สามารถทำหน้าที่เก็บ logfile ของข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความจำเป็นขั้นต่ำ ประกาศดังกล่าวนี้ ยังเป็นหนทางที่จะทำให้เกิดธุรกิจบริการรับฝากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ขึ้นได้ เพราะจะมีผู้ให้บริการขนาดเล็กจำนวนมาก ที่ไม่สามารถทำตาม พรบ.นี้ได้ด้วยตนเอง
(อาจมีประกาศอื่นตามมาอีก)
หลักในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับกฎหมายนี้
ในการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ให้น่าเชื่อถือ ขอให้ท่านยึดหลักการง่ายๆดังนี้
ข้อมูลที่เก็บ ต้องมีรายการที่สามารถระบุว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นใคร เข้ามาทางเครือข่ายทางประตูใด มีหมายเลข IP อะไร ใช้โปรแกรมประยุกต์อะไร ในห้วงเวลาใด
นาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร ต้องมีการตั้งเวลาให้ตรงกับนาฬิกาอะตอมที่ใช้อ้างอิง เช่น ที่ NIST (สหรัฐอเมริกา) กรมอุทกศาสตร์ (กองทัพเรือ) สถาบันมาตรวิทยา (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) หรือใช้เทียบเวลากับเครื่อง time server ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น เนคเทค (ntp://clock.nectec.or.th) ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายทั่วไป รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์มาตรฐานทั่วไป สามารถตั้งเวลาให้ตรงกับเวลามาตรฐานโลกได้ด้วยความแม่นยำในระดับ 1 มิลลิวินาทีหรือดีกว่านี้
ข้อมูลจราจร ต้องมีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการถูกแก้ไข หรือสื่อข้อมูลเสื่อมคุณภาพ ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน
ที่มา http://wiki.nectec.or.th/
และบางส่วนจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=76772
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554
การสร้างเว็บไซต์ โดยใช้ Google site
การสร้างเว็บไซต์ โดยใช้ Google site
ในการสร้างเว็บไซต์ในปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในโลกเทคโนโลยี ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องของการเขียนสคริป ออกแบบเว็บไซต์ หรือว่าต้องเสียเงินค่าเช่า โฮสติงหรือโดเมนเนม ซึ่งในปัจจุบันมีการบริการเว็บไซต์ที่ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ซึ่งครั้งนี้ผมจะทำการแนะนำการสร้างเว็บไซต์อย่างง่าย รวดเร็วและมีความปลอดภัย โดยใช้ Google Site พัฒนาโดย Google มาดูวิธีการสร้างกันนะครับว่าจะยากหรือง่ายแค่ไหนอย่างไร.....
ก่อนอื่นเราจะต้องมี e-mail ของ Gmail ถ้าใครไม่มี สามารถดูได้ที่ Clip ข้างล่างนี้เลยครับ
Step 1 : ทำการสร้าง E-mail account ของ G-mail
Step 2 : ติดตั้ง Google site
Step 3 : การตั้งค่า Google site
Step 4 : การสร้างเมนูและเนื้อหาใน Google site
Step 5 : ทำการแทรกภาพและวิดีโอใน Google site
ที่มา http://www.nineplusdesign.com
ในการสร้างเว็บไซต์ในปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในโลกเทคโนโลยี ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องของการเขียนสคริป ออกแบบเว็บไซต์ หรือว่าต้องเสียเงินค่าเช่า โฮสติงหรือโดเมนเนม ซึ่งในปัจจุบันมีการบริการเว็บไซต์ที่ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ซึ่งครั้งนี้ผมจะทำการแนะนำการสร้างเว็บไซต์อย่างง่าย รวดเร็วและมีความปลอดภัย โดยใช้ Google Site พัฒนาโดย Google มาดูวิธีการสร้างกันนะครับว่าจะยากหรือง่ายแค่ไหนอย่างไร.....
ก่อนอื่นเราจะต้องมี e-mail ของ Gmail ถ้าใครไม่มี สามารถดูได้ที่ Clip ข้างล่างนี้เลยครับ
Step 1 : ทำการสร้าง E-mail account ของ G-mail
Step 2 : ติดตั้ง Google site
Step 3 : การตั้งค่า Google site
Step 4 : การสร้างเมนูและเนื้อหาใน Google site
Step 5 : ทำการแทรกภาพและวิดีโอใน Google site
ที่มา http://www.nineplusdesign.com
สร้าง blog เก็บข้อมูลส่วนตัวฟรีที่ Blogger.com
สร้าง blog เก็บข้อมูลส่วนตัวฟรีที่ Blogger.com
* โดยในเนื้อหาใน Blog นั้นจะส่วนประกอบสามส่วนคือ 1.หัวข้อ (Title) 2. เนื้อหา (Post หรือ Content) 3.วันที่เขียน (Date)
ประโยชน์หลักของ blog
• เป็นศูนย์ความรู้ของบริษัท เพราะให้พนักงานแต่ละคนเขียนบล็อกส่วนตัวไว้ หากพนักงานท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่บริษัทให้รุ่นน้องศึกษา
• ใช้รายงานเหตุการณ์ หรือผลการทำงานว่าแต่ละวันได้ทำอะไรบ้าง
• ใช้ติดตามความคืบหน้าของงาน กรณีมีการทำงานร่วมกัน
• ใช้สำหรับโชวร์ ผลงานส่วนตัว หรือไซต์ส่วนตัว
• ใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัว / เว็บดาราดัง (เราอาจจะเป็นแฟนพันธุ์แท้ ใครสักคนก็สามารถทำได้สบาย )
• ใช้ทำเว็บรวมสถานที่ท่องเทียวในตัวจังหวัด หรือในอำเภอเล็กๆ ตามต่างจังหวัด
• ...
ตัวอย่างเว็บไซต์ ในลักษณะ Weblog
• Mblog > weblog.manager.co.th
• OpenTLE Blog > blog.opentle.org
• Kapook Blog > www.kapookclub.com
• BlogGang > www.bloggang.com
• Exteen Blog > www.exteen.com
• MSDN Blogs > blogs.msdn.com
• Sun Blog > blogs.sun.com
• OracleAppsBlog > www.oracleappsblog.com
• Google Blog > googleblog.blogspot.com
• IBM Developer Blog > www-106.ibm.com/developerworks/blogs
การสมัครเขียนบล็อกฟรี ที่ Blogger.com
1. เข้าสมัครสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ http://www.blogger.com/
2. คลิกที่เริ่มสร้างบล็อกที่ CREATE YOUR BLOG NOW
3. กรอกรายละเอียดส่วนตัว ชื่อล็อกอิน / รหัสผ่าน / ชื่อบล็อก / อีเมล์เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue
4. ระบุรายละเอียดของบล็อกBlog title : ระบุชื่อบล็อกBlog address (URL) : ชื่อยูอาแอลสำหรับเรียกใช้งาน http://arnut.blogpot.comWorld Verification : พิมพ์รหัสที่ระบบบอกมาเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue
5 . ระบบจะแสดง Template ให้เลือกใช้งานหลายแบบ ให้ทำการคลิกเลือก Template ที่ต้องการ
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue
6 . ระบบแสดงข้อความกำลังทำการสร้าง blog ให้อยู่
7. ทำการสร้าง blog เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม START POSTING เพื่อทดสอบเข้าใช้งาน
8. พิมพ์รายละเอียดข้อความแรกในบล็อก หลังพิมพ์ฺเสร็จสามารถคลิก preview ดูผลก่อนได้
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Publish Post
9. เสร็จสิ้นการติดตั้งเว็บบล็อกให้คลิกที่ View Blog เพื่อดูผล
10. แสดงบล็อกส่วนตัวที่สร้างเสร็จแล้วสังเกต url ด้านบนจะเป็น http://arnut.blogspot.com/
11. ที่นี้กรณีที่ต้องการเขียน Blog เพิ่มเติม หรือเข้าไปแก้ไข Blog สามารถล็อกอินเข้าได้ที่
http://www.blogger.com/start พิมพ์ชื่อ username / Password เสร็จแล้วคลิกปุ่ม SIGN IN เพื่อเข้าระบบ
12. จะเข้าสู่หน้าต่างผู้ดูแลบล็อกสำหรับแก้ไข และปรับแต่งข้อมูลต่างๆ ดังรูปทำการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ
สรุป ในการสร้างบล็อกนั้นสามารถทำได้สองแบบคือ
1. การติดตั้งโปรแกรมทำ Blog ขึ้นใช้งานเองสำหรับบริการพนักงานใน office เลย ตัวอย่างโปรแกรมสร้าง blog เช่น WordPress, b2evolution, Nucleus, pMachine, MyPHPblog, Movable Type, Geeklog, bBlog (วิธีนี้ท่านต้องมีเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งานเองอาจทำเป็น Intranet Blog หรือ Internet Blog ก็ได้)
2. การใช้งานบล็อกฟรี จากเว็บที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีเว็บเปิดให้บริการหลายเว็บอาทิ เช่น Blogger.com (en), Bloglines.com (en), Exteen.com (th), Bloggang.com(th)*
ในบทความนี้นำเสนอการสร้างบล็อกวิธีที่สองคือการใช้บล็อกฟรี โดยทดสอบจากเว็บ blogger.com จะเห็นได้ว่าการมีเว็บบล็อกเป็นของตัวเองไม่ช่ายเรื่องยากอีกต่อไป อีกทั้งผู้เขียนไม่จำเป็นต้องเขียนเว็บเป็นก็สามารถมีบล็อกส่วนตัวได้แล้ว โดยในการสร้างและเขียนบล็อกขึ้นมา ขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกแต่ละท่าน ผู้เขียนขอให้ใช้ประโยชน์จากบล็อกในเชิงสร้างสรรค์ และขอให้ทุกท่าน สนุกกับการเขียนบล็อกส่วนตัวครับ
Blog เป็นเครื่องมือสำหรับเขียนบันทึกเหตุการณ์ส่วนตัว ชื่อเต็มๆ มาจาก Weblog โดยคนที่เขียน blog เขาจะเรียกว่า blogger หรือ Weblogger ที่จริงแล้วจะเรียกชื่ออะไรคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเรามากนักเอาเป็นว่าให้พอรู้จักชื่อละกัน หากท้าวความย้อนกลับไปในอดีต คนที่จะทำเว็บไซต์ส่วนตัวจะต้องศึกษาเครื่องมือเขียนเว็บอย่าง HTML หรือหากจะให้ง่ายหน่อยก็ใช้ทูลสำเร็จรูปอย่าง Dreamweaver, Frontpage ในการสร้างเว็บขึ้นมา หลังจากสร้างเสร็จจะต้องไปขอพื้นที่เว็บฟรีเพื่ออัปโหลดข้อมูลในเครื่องเราขึ้นไปเก็บอีกทีหนึ่ง จึงจะมีเว็บของตัวเองได้
สำหรับ blog ไม่เป็นเช่นนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนั่งเขียนโค้ด หรือนั่งสร้างเว็บเอง อีกทั้งไม่จำเป็นต้องไปขอพื้นที่เว็บฟรี ก็สามารถมีเว็บไว้บันทึกเหตุการณ์ส่วนตัวได้แล้ว อีกทั้งสามารถเปลี่ยนรูปพื้นหลัง (template) ได้ด้วย ปัจจุบัน blog กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัททั้งเล็ก ใหญ่ต่างก็ทำเว็บบล็อกบริการในบริษัท เพื่อให้พนักงานเขียนบล็อกส่วนตัวได้ * โดยในเนื้อหาใน Blog นั้นจะส่วนประกอบสามส่วนคือ 1.หัวข้อ (Title) 2. เนื้อหา (Post หรือ Content) 3.วันที่เขียน (Date)
ประโยชน์หลักของ blog
• เป็นศูนย์ความรู้ของบริษัท เพราะให้พนักงานแต่ละคนเขียนบล็อกส่วนตัวไว้ หากพนักงานท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่บริษัทให้รุ่นน้องศึกษา
• ใช้รายงานเหตุการณ์ หรือผลการทำงานว่าแต่ละวันได้ทำอะไรบ้าง
• ใช้ติดตามความคืบหน้าของงาน กรณีมีการทำงานร่วมกัน
• ใช้สำหรับโชวร์ ผลงานส่วนตัว หรือไซต์ส่วนตัว
• ใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัว / เว็บดาราดัง (เราอาจจะเป็นแฟนพันธุ์แท้ ใครสักคนก็สามารถทำได้สบาย )
• ใช้ทำเว็บรวมสถานที่ท่องเทียวในตัวจังหวัด หรือในอำเภอเล็กๆ ตามต่างจังหวัด
• ...
ตัวอย่างเว็บไซต์ ในลักษณะ Weblog
• Mblog > weblog.manager.co.th
• OpenTLE Blog > blog.opentle.org
• Kapook Blog > www.kapookclub.com
• BlogGang > www.bloggang.com
• Exteen Blog > www.exteen.com
• MSDN Blogs > blogs.msdn.com
• Sun Blog > blogs.sun.com
• OracleAppsBlog > www.oracleappsblog.com
• Google Blog > googleblog.blogspot.com
• IBM Developer Blog > www-106.ibm.com/developerworks/blogs
การสมัครเขียนบล็อกฟรี ที่ Blogger.com
1. เข้าสมัครสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ http://www.blogger.com/
2. คลิกที่เริ่มสร้างบล็อกที่ CREATE YOUR BLOG NOW
3. กรอกรายละเอียดส่วนตัว ชื่อล็อกอิน / รหัสผ่าน / ชื่อบล็อก / อีเมล์เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue
4. ระบุรายละเอียดของบล็อกBlog title : ระบุชื่อบล็อกBlog address (URL) : ชื่อยูอาแอลสำหรับเรียกใช้งาน http://arnut.blogpot.comWorld Verification : พิมพ์รหัสที่ระบบบอกมาเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue
5 . ระบบจะแสดง Template ให้เลือกใช้งานหลายแบบ ให้ทำการคลิกเลือก Template ที่ต้องการ
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue
6 . ระบบแสดงข้อความกำลังทำการสร้าง blog ให้อยู่
7. ทำการสร้าง blog เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม START POSTING เพื่อทดสอบเข้าใช้งาน
8. พิมพ์รายละเอียดข้อความแรกในบล็อก หลังพิมพ์ฺเสร็จสามารถคลิก preview ดูผลก่อนได้
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Publish Post
9. เสร็จสิ้นการติดตั้งเว็บบล็อกให้คลิกที่ View Blog เพื่อดูผล
10. แสดงบล็อกส่วนตัวที่สร้างเสร็จแล้วสังเกต url ด้านบนจะเป็น http://arnut.blogspot.com/
11. ที่นี้กรณีที่ต้องการเขียน Blog เพิ่มเติม หรือเข้าไปแก้ไข Blog สามารถล็อกอินเข้าได้ที่
http://www.blogger.com/start พิมพ์ชื่อ username / Password เสร็จแล้วคลิกปุ่ม SIGN IN เพื่อเข้าระบบ
12. จะเข้าสู่หน้าต่างผู้ดูแลบล็อกสำหรับแก้ไข และปรับแต่งข้อมูลต่างๆ ดังรูปทำการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ
สรุป ในการสร้างบล็อกนั้นสามารถทำได้สองแบบคือ
1. การติดตั้งโปรแกรมทำ Blog ขึ้นใช้งานเองสำหรับบริการพนักงานใน office เลย ตัวอย่างโปรแกรมสร้าง blog เช่น WordPress, b2evolution, Nucleus, pMachine, MyPHPblog, Movable Type, Geeklog, bBlog (วิธีนี้ท่านต้องมีเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งานเองอาจทำเป็น Intranet Blog หรือ Internet Blog ก็ได้)
2. การใช้งานบล็อกฟรี จากเว็บที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีเว็บเปิดให้บริการหลายเว็บอาทิ เช่น Blogger.com (en), Bloglines.com (en), Exteen.com (th), Bloggang.com(th)*
ในบทความนี้นำเสนอการสร้างบล็อกวิธีที่สองคือการใช้บล็อกฟรี โดยทดสอบจากเว็บ blogger.com จะเห็นได้ว่าการมีเว็บบล็อกเป็นของตัวเองไม่ช่ายเรื่องยากอีกต่อไป อีกทั้งผู้เขียนไม่จำเป็นต้องเขียนเว็บเป็นก็สามารถมีบล็อกส่วนตัวได้แล้ว โดยในการสร้างและเขียนบล็อกขึ้นมา ขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกแต่ละท่าน ผู้เขียนขอให้ใช้ประโยชน์จากบล็อกในเชิงสร้างสรรค์ และขอให้ทุกท่าน สนุกกับการเขียนบล็อกส่วนตัวครับ
ขอขอบคุณ Write byA.Arnut Ruttanatirakul CMSThailand Development team
http://www.cmsthailand.com
http://www.cmsthailand.com
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554
อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน
อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราแล้ว เราสามารถทราบข่าวสารเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร รายการวิทยุ และจากแหล่งข่าวสารมากมายทั่งทุกมุมโลก ทุกวันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตให้เราทำความรู้จักและศึกษาเพิ่มเติม หนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็ยังลงบทความเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของอินเตอร์เน็ตและใช้งานจากอินเตอร์เน็ตมากขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีการเปิดสอนเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาโทบนอินเตอร์เน็ต จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนเป็นบางรายวิชา เช่น การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเสมือนของนิสิตปริญญาโทโสตทัศนศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น
ทุกวันนี้มีการสร้างโปรแกรมประยุกต์ใช้งานบนอินเตอร์เน็ตมากมาย มีสถานีให้บริการเว็บ เกิดขึ้นทั่วโลก ในแต่ละวันมีสถานีใหม่ๆ เกิดขึ้นให้เราเข้าไปใช้งาน จำนวนผู้เข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนต่างพยายามขวนขวายหาทางให้ตนเองมีหมายเลขบัญชีบนอินเตอร์เน็ต (Internet Account) หรือเป็นสาขาย่อย (Node) ของศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider, ISP) เพื่อบริการแก่เจ้าหน้าที่ พนักงานใหม่ในหน่วยงานของตน
อันตรายจากอินเตอร์เน็ต
ประเทศไทยมีการนำระบบอินเตอร์มาใช้หลายปี ส่วนใหญ่เป็นการใช้งานภายในหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ต่อมามีการนำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจสำหรับบุคคลทั่วไป ในปี พ.ศ. 2537 แต่ไม่ได้รับความนิยม สำหรับปี พ.ศ. 2539 แตกต่างกันออกไป ผลจากการที่มีข่าวปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ว่ามีการนำภาพดารามาตกแต่งเป็นภาพโป๊เปลือย แล้วนำไปแจกจ่ายบนอินเตอร์เน็ต กระแสความสนใจเกิดขึ้น ผู้คนทั่วไปเริ่มหันมาสนใจกับอินเตอร์มากขึ้นทุกที
อันตรายของอินเตอร์เน็ตที่พบเห็นได้เด่นชัดที่สุดน่าจะเป็นการใช้อินเตอร์เน็ต ผิดประเภทผิดวัตถุประสงค์ และใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อกล่าวหาและโจมตีคู่แข่ง เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถกระจายไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
แต่อย่างไรอันตรายที่เกิดจากอินเตอร์เน็ตก็นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่เราจะได้รับ
World Wide Web, Web Pages, Web Site และ HTML
ในการบริการอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น E – mail, FTP เป็นบริการที่ได้กว้างขวางและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริการ www จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เข้าไปดูเอกสารซึ่งจะมีทั้งมีทั้งภาพและเสียง หรือภาพยนตร์ประกอบด้วยได้
เอกสารที่เราเปิดดูใน World Wide Web เรียกว่า เว็บเพจ (Web Pages) เรียกสั้นๆว่า เว็บ (Web) สร้างขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกชื่อว่า HTML (HyperText markup Language) ภาษา HTML จะกำหนดรูปแบบหน้าตาของเอกสารเว็บที่ปรากฏบนหน้าจอ และเชื่อมต่อกับเว็บเพจกับข้อมูลอื่นๆ
เอกสารแต่ละหน้ามีการเชื่อมต่อถึงกันในลักษณะที่เราสามารถเรียกดูเอกสารหนึ่งจากเอกสารฉบับอื่นได้ โดยในเว็บเพจจะมี Link เป็นคุณสมบัติที่ทำให้เว็บเพจแตกต่างจากเอกสารทั่วไป เพราะผู้อ่านสามารถโต้ตอบกับข้อมูลได้ โดยการคลิกเมาส์ เพื่อเปิดดูข้อมูลในส่วนที่ต้องการ
บางคนอาจคิดว่าเว็บเพจมีส่วนคล้ายหน้าหนังสือ แต่ที่จริงแล้วเว็บเพจมีความแตกต่างจากหนังสือโดยทั่วไป เพราะเว็บเพจเป็นสื่อที่สามารถโต้ตอบได้การใช้ Link ทำให้เว็บเพจ แตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่นๆ เพราะผู้ใช้สามารถเลือกดูเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยไม่ต้องสนใจข้อมูลมหาศาลในอินเตอร์เน็ต ข้อมูลในเว็บมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ เช่น เว็บตลาดหุ้นจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนั้นเว็บยังสามารถแสดงข้อมูลได้มากกว่าตัวอักษรหรือภาพเว็บเพจสามารถแสดงเสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพยนตร์ได้
แต่ละเว็บไซต์เมื่อพิจารณาดูก็คล้ายๆ หนังสือหนึ่งเล่มซึ่งประกอบด้วยหน้าหนังสือจำนวนมาก หน้าปกหนังสือมีความสำคัญมาก เพราะจะต้องสื่อเนื้อหาหลักของหนังสือในรูปแบบที่สะดุดตา และจูงใจให้คนเปิดอ่านถ้าเปรียบเว็บไซต์เหมือนหนังสือที่ประกอบด้วยเว็บเพจ จำนวนมากโฮมเพจ คือ เว็บเพจหน้าแรกที่มีหน้าที่คล้ายปกหนังสือ เมื่อเปิดดูโฮมเพจจะพบคำแนะนำการใช้งาน สรุปสิ่งที่น่าสนใจในเว็บไซต์ไปจนถึงหัวข้อที่เชื่อมต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆ
URL, Web Broser
การเปิดดูเว็บเพจ จะต้องมีการระบุตำแหน่งที่เก็บเว็บเพจนั้นในอินเตอร์เน็ต เรียกว่า URL หรือ Uniform Resource Locatution ส่วนสำคัญของ URL มีดังนี้
โปรโตคอล จะแจ้งให้บราวเซอร์ทราบว่าต้องจัดการกับข้อมูลที่พบอย่างไร
สำหรับเว็บเพจโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้มีชื่อเรียกว่า HTTP (HyperText Transfer Protocol)
ชื่อเซิฟเวอร์ จะระบุชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บเพจ
บางครั้งส่วนนี้จะถูกเรียกว่า โดเมนเนม (Domain Name)
เซิฟเวอร์ทุกเครื่องจะมีโดเมนเนมเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร
ชื่อเซิฟเวอร์อาจระบุแทนด้วยตัวเลขเฉพาะของมัน เช่น
195.121.237.1 เป็นต้น
การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมเป็นเครือข่ายในระบบอินเตอร์เน็ต มีคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องดูแลเครือข่าย (Server) และเครื่องลูกข่าย (Client)
จึงเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกับอินเตอร์เน็ตนี้ว่า Client Server Network
โปรแกรมสำหรับเข้า www เรียกว่า บราวเซอร์ (Web Broser) ปัจจุบันมีบราวเซอร์หลายรายที่ใช้สำหรับเปิดดูเว็บเพจถึงแม้แต่ละตัวมีคุณสมบัติคล้ายกัน แต่ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกัน เมื่อเปิดบราวเวอร์เพื่อดูเว็บเพจเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้จะทำหน้าที่เป็นลูกข่าย (Clint) ติดต่อกับเครื่องที่เก็บข้อมูลเว็บเพจที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องดูแลเครือข่าย (Server)
โปรแกรมบราวเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม ได้แก่
- Internet Explorer ของบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ของตระกูลไมโครซอฟท์ เช่น Office 97 ได้อีกด้วย
- Netscape Navigator เป็นบราวเซอร์อีกตัวหนึ่งที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เป็นของบริษัท Netscape Communication ซึ่งบราวเซอร์ทั้ง 2 ตัวนี้มีคุณสมบัติคล้ายกัน เราสามารถ download โปรแกรมทั้งสอง (รุ่นทดลองใช้) ได้จากเว็บไซต์ของบริษัททั้งสอง
เว็บไซต์ (Website) เป็นแหล่งที่รวมของเว็บเพจทั้งหมดที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันของหน่วยงาน หรือองค์กรหนึ่งๆ เมื่อใดที่ใช้โปรแกรมเปิดดูเว็บ (Web Browser Program) บราวเซอร์จะทำการติดต่อกับเว็บไซต์ที่เก็บเว็บเพจนั้น เพื่อทำการโอนย้ายเว็บที่ต้องการมายังเครื่องของผู้ใช้
Web Server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถใช้บราวเซอร์ติดต่อเพื่อขอดูเว็บเพจได้ เว็บเซิฟเวอร์ส่วนใหญ่จะติดต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลาโดยใช้สายส่งความเร็วสูง เพื่อบริการผู้ที่เชื่อมต่อเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์
ขอขอบคุณ อ.ชัชวาลย์ ชุมรักษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
อินเตอร์เน็ตกับการเมือง
ขอบคุณที่มา : มติชนออนไลน์
การสร้างบทความ (Post)
ส่วนของการสร้างบทความให้เข้าไปที่ "การส่งบทความ" หัวข้อ "สร้าง" ให้เพื่อนๆทำความเข้าใจเมนูและเครื่องมือต่างๆ ของการสร้างบทความใน Blogger เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
ความเข้าใจเบื้องต้นในการสร้างบทความ
การสร้างบทความใช้พื้นฐาน Microsoft word คือเขียนอย่างไรก็จะออกมาอย่างนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนส่วนของ "เขียน"
ในส่วนนี้จะเหมือน Microsoft Word เกือบทุกๆอย่าง อยากเขียนอะไร อยากใช้ตัวหนา ตัวเอียง การใส่ Link เพียงแค่คลิ๊กเมนูการใช้งานด้านบน มีข้อเสียคือ เวลา Copy อะไรก็ตามแล้วนำมา Paste ลงในนี้ ลักษณะของของตัวอักษรจะเหมือนกับต้นแบบที่ Copy มาทุกอย่างครับ
ส่วนของ "HTML" ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร แต่ไม่ได้ยากเท่าไรครับ ข้อดีคือ สามารถปรับตามความต้องการของเราได้ทุกอย่าง เมื่อ Copy อะไรมาวาง ลักษณะตัวอักษรจะถูกปรับเป็นตัวอักษรปกติของบล๊อกเราครับ
ข้อสังเกตุ:
การ Copy อะไรมาวางถ้าไม่อยากให้ลักษณะผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามรูปแบบที่สวยงาม ให้้ Copy แล้วทำมา Paste ในส่วนของ HTML ครับ ข้อความทั้งหมด จะถูกปรับให้การแสดงผลเป็นค่าปกติของบล๊อกเรา ไม่ใช่ตามลักษณะต้นแบบที่เรา Copy มาครับ
เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างบทความ
Blogger มีเครื่องมือต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเขียบบทความได้ตามรูปแบบที่ตั้งใจ ดูตามดังรูปเลยครับ
ความเข้าใจเบื้องต้นในการสร้างบทความ
การสร้างบทความใช้พื้นฐาน Microsoft word คือเขียนอย่างไรก็จะออกมาอย่างนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนส่วนของ "เขียน"
ในส่วนนี้จะเหมือน Microsoft Word เกือบทุกๆอย่าง อยากเขียนอะไร อยากใช้ตัวหนา ตัวเอียง การใส่ Link เพียงแค่คลิ๊กเมนูการใช้งานด้านบน มีข้อเสียคือ เวลา Copy อะไรก็ตามแล้วนำมา Paste ลงในนี้ ลักษณะของของตัวอักษรจะเหมือนกับต้นแบบที่ Copy มาทุกอย่างครับ
ส่วนของ "HTML" ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร แต่ไม่ได้ยากเท่าไรครับ ข้อดีคือ สามารถปรับตามความต้องการของเราได้ทุกอย่าง เมื่อ Copy อะไรมาวาง ลักษณะตัวอักษรจะถูกปรับเป็นตัวอักษรปกติของบล๊อกเราครับ
ข้อสังเกตุ:
การ Copy อะไรมาวางถ้าไม่อยากให้ลักษณะผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามรูปแบบที่สวยงาม ให้้ Copy แล้วทำมา Paste ในส่วนของ HTML ครับ ข้อความทั้งหมด จะถูกปรับให้การแสดงผลเป็นค่าปกติของบล๊อกเรา ไม่ใช่ตามลักษณะต้นแบบที่เรา Copy มาครับ
เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างบทความ
Blogger มีเครื่องมือต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเขียบบทความได้ตามรูปแบบที่ตั้งใจ ดูตามดังรูปเลยครับ
1. แบบอักษร สามารถเลือกตัวอักษรได้ตามต้องการ
2. ปรับขนาดตัวอักษร ปรับขนาดความใหญ่หรือเล็กลง
3. ตัวหนา
4. ตัวเอียง
5. สีของตัวอักษร
6. ทำ Link ให้ข้อความ เราสามารถสร้าง Link ให้ข้อความได้โดยการ คลิ๊กคลอบข้อความที่เราต้องการแล้วกดที่เมนูนี้ ระบบจะให้ทำการใส่ URL (ที่อยู่ของ Link เช่น www.snook.com) เมื่อคลิ๊กที่ข้อความจะถูกส่งไปยังหน้าเว็บที่เราใส่ Link เข้าไป
7. ทำบทความให้ชิดซ้าย
8. ทำบทความให้อยู่กึ่งกลาง
9. ทำบทความให้ชิดขวา
10. ทำบทความให้ชิดทั้งขอบซ้ายและขวา
11. ทำรายการเรียงลำดับเป็นตตัวเลข
12. ทำรายการเรีนงลำดับเป็นจุด
13. ใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
14. เพิ่มรูปภาพลงในบทความของเรา ระบบจะให้เราอัพโหลดไฟล์รูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา สามารถปรับขนาดและจัดรูปแบบให้อยู่ ซ้าย,กลาง,ขวา ได้
15. เพิ่ม Video เข้าไปในบทความของเราเช่นเดียวกับรูปภาพครับ
16. ส่วนนี้เป็นการลบข้อความที่เราเขียนผิดพลาด ในส่วนนี้ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไร หรือไม่ได้ใช้เลยก็ได้
17. แก้ไข HTML ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร
18. หน้าที่ใช้เขียนบทความเหมือนการใช้งาน Microsoft Word
19. แสดงตัวอย่างที่เราเขียนบทความ
20. การใส่หัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง "การตกแต่งบ้างโดยใช้ต้นไม้ประดับ" หัวข้อก็คือ การตกแต่งบ้าน (บ่งบอกให้รู้ว่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร)
21. ทำการเผยแพร่บทความทันที บทความจะแสดงหน้าบล๊อกของเราทันที่ที่เราเผยแพร่
22. บันทึก เป็นการบันทึกบทความไว้ก่อน จะยังไม่แสดงในหน้าบล๊อกของเรา เหมือนการร่างบทความ เราสามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนทีหลังได้ใน "การแก้ไขบทความ"
การเขียนบทความที่ดี
เขียนสั้นๆได้ใจความ
อย่าทำให้ผู้อ่านลายตา
ใช้ประโยคเป็นกันเอง เหมือนเล่าเรื่อง (แล้วแต่เนื้อหาบทความ)
ชื่อเรื่องน่าอ่าน
มีสไตล์เป็นของตัวเอง
ทบทวนเรื่องราว เช่นเขียนดูไหม อ่านแล้วเป็นยังไง สะกดผิด เขียนผิดหรือปล่าว
เขียนสั้นๆได้ใจความ
อย่าทำให้ผู้อ่านลายตา
ใช้ประโยคเป็นกันเอง เหมือนเล่าเรื่อง (แล้วแต่เนื้อหาบทความ)
ชื่อเรื่องน่าอ่าน
มีสไตล์เป็นของตัวเอง
ทบทวนเรื่องราว เช่นเขียนดูไหม อ่านแล้วเป็นยังไง สะกดผิด เขียนผิดหรือปล่าว
http://itoeblog.blogspot.com/2009/05/post.html
เขียนโดย Ajthanadol Phuseerit ; วันที่28มีนาคม 2554
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)